Page 99 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 99

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    81



                           สัตว์หน้าดินกลุ่มครัสตาเซียนเป็นกลุ่มที่พบกระจายได้ตามแหล่งน ้าทั่วไปไม่เพียงแต่บริเวณแหล่งน ้า

                  จืดและชายฝั่งทะเล แต่บางชนิดจะพัฒนาขึ้นไปอยู่บนบริเวณชายฝั่งและบนบก ดังนั้นจะพบการพัฒนาอย่าง
                  มากของอวัยวะส่วนเหงือกที่ใช้ในการหายใจ การไหลเวียนของน ้าผ่านอวัยวะส่วนเหงือกยังเป็นกระบวนการ

                  ส าคัญที่ท าให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซในบริเวณเหงือก ดังที่เราได้เรียนรู้มาแล้วจากการปรับตัวของปูในป่าชายเลน

                  ที่ต้องพบสภาวะที่โผล่พ้นน ้าในขณะที่น ้าลง ปูเหล่านี้มีการปรับตัวให้สามารถหายใจได้โดยการใช้ออกซิเจนใน
                  อากาศหรือหายใจได้โดยมีปริมาณน ้าน้อยมากอยู่บริเวณเหงือก การปรับตัวเพื่อให้สามารถหายได้เมื่อโผล่พ้นน ้า

                  และสัมผัสกับอากาศเป็นเวลานานได้แก่ การลดลงของจ านวนเหงือก การลดลงของจ านวนแผ่นพับ (lamellae)

                  ต่อเหงือก ตลอดจนการเพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้างแผ่นพับในเหงือกเพื่อให้คงรูปอยู่ได้เมื่อไม่อยู่ในมวลน ้า
                  ดังนั้นเราจึงพบการแบ่งกลุ่มของปูในป่าชายเลนตามลักษณะการหายใจออกเป็น 2 กลุ่ม ปูกลุ่มแรก

                  ประกอบด้วยกลุ่มปูแสมและปูก้ามหัก ปูกลุ่มนี้จัดเป็นปูกลุ่ม pumpers โดยปูในกลุ่มนี้จะท าให้เกิดกระแสน ้า

                  ไหลเวียนอย่างต่อเนื่องในช่องอกผ่านเหงือกขึ้นไปหล่อเลี้ยงบริเวณส่วนหัวและส่วนอก และกลับเข้ามาในช่อง
                  เหงือกอีกครั้งหนึ่งเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซ พวกปูก้ามดาบและกลุ่มปูสกุล Cardiosoma และสกุล Grapsus ซึ่ง

                  เป็นปูที่อยู่ตอนบนของหาดเป็นส่วนใหญ่จะมีเหงือกที่ลดขนาดลง และมีโครงสร้างที่แข็งแรงและหนาเพื่อ

                  ป้องกันการแฟบตัวหรือไม่คงรูปเมื่อปูสัมผัสกับอากาศ ปูกลุ่มหลังนี้เป็นกลุ่ม non-pumpers ส่วนเหงือกของปู
                  กลุ่ม non-pumpers จะแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนบนเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงเป็นจ านวน

                  มากท าหน้าที่เหมือนปอดและเหงือก ส่วนล่างจะเป็นลักษณะของช่องเหงือกในปูทั่วไป ปูเหล่านี้สามารถเก็บกัก

                  น ้าไว้ในช่องเหงือกได้เป็นเวลานาน ปูป่าชายเลนสามารถดูดน ้าเข้าไปในตัวเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ของน ้าที่บริเวณ
                  ขาเดินหรือวิ่งลงรูเพื่อจุ่มตัวเองในแอ่งน ้าที่อยู่ในรู หอยหลายชนิดสามารถหายใจโดยใช้ออกซิเจนจากอากาศ

                  (aerial respiration) เช่นเดียวกับปูป่าชายเลน หอยแครงเวลาโผล่พ้นน ้าหรือที่เราเห็นหอยแครงวางกองเพื่อ

                  ขายในตลาดนั้น หอยแครงจะหายใจโดยการฮุบออกซิเจนในอากาศโดยการปิดเปิดฝาเป็นจังหวะเช่นเดียวกับ
                  ปลาที่ลอยมาบริเวณผิวน ้าเพื่อฮุบเอาออกซิเจนในอากาศเมื่อปริมาณออกซิเจนในน ้าลดลง พฤติกรรมดังกล่าวนี้

                  เรียกว่า gapping


                        3.3.2 การหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic respiration)

                           การหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic respiration) เป็นการปรับตัวที่ส าคัญส าหรับสัตว์หน้าดิน

                  หลายชนิดที่อยู่บริเวณเขตน ้าขึ้นน ้าลงและเขตน ้ากร่อย ซึ่งมีบางช่วงเวลาที่โผล่พ้นน ้าไม่สามารถหายใจโดยการ
                  ดึงออกซิเจนจากมวลน ้าได้เช่นกลุ่มหอยสองฝา เช่น หอยแมลงภู่ หอยนางรมและหอยกะพง ในยามน ้าลงหอย

                  สองฝาเหล่านี้จะปิดฝาแน่นและท าการหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจนโดยได้รับพลังงานจากการสลายไกลโครเจนที่

                  สะสมไว้ในร่างกาย เมื่อน ้าขึ้นและน ้าท่วมตัวอีกครั้งหอยสองฝาเหล่านี้จะหายใจเป็นปกติโดยมีการไหลเวียนของ
                  มวลน ้าผ่านเหงือก ดังนั้นสัตว์หน้าดินหลายชนิดจะมีการปรับตัวด้านการหายใจเพื่อให้ด ารงชีพได้ดีในบริเวณที่มี

                  ปริมาณออกซิเจนต ่า คือการหายใจโดยใช้ออกซิเจนสลับกับการหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจนซึ่งเรียกว่า

                  facultative anaerobiosis ช่วงเวลาที่สัตว์หน้าดินหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจนมักเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104