Page 103 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 103

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    85



                          3.6.2 การสืบพันธุ์แบบมีเพศ (sexual reproduction)

                           การสืบพันธุ์แบบมีเพศพบในสัตว์หน้าดินทุกกลุ่มนับตั้งแต่ในกลุ่มโปรตัวซัวที่มีการจับคู่เป็น
                  conjugation การสืบพันธุ์รูปแบบนี้จะมีการใช้พลังงานสูงมาก นับตั้งแต่การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในสัตว์หน้าดิน

                  เพศผู้และเพศเมีย ในสัตว์หน้าดินที่โตเต็มวัยพร้อมที่จะผสมพันธุ์จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง สีสันตลอดจน

                  พฤติกรรมเพื่อแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะผสมพันธุ์ ในปูก้ามดาบเพศผู้และเพศเมียจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน
                  อย่างชัดเจน (sexual dimorphism) ปูก้ามดาบตัวผู้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าพร้อมทั้งมีสีสันที่สวยงาม ก้ามของปู

                  ก้ามดาบเพศผู้ข้างหนึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าก้ามอีกข้างหนึ่ง ก้ามข้างที่มีขนาดใหญ่นี้อาจเป็นก้ามด้านซ้ายมือหรือ

                  ก้ามด้านขวาก็ได้เหมือนคนที่ถนัดซ้ายหรือถนัดขวา ก้ามใหญ่ของปูก้ามดาบตัวผู้มีความส าคัญในการโบกเพื่อ
                  เชิญชวนให้ปูก้ามดาบเพศมียสนใจและพร้อมจะผสมพันธุ์กันในรูที่ปูก้ามดาบเพศผู้เตรียมไว้ นอกจากนี้การชู

                  ก้ามใหญ่และโบกไปมาในปูก้ามดาบเพศผู้ยังใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยไม่ให้มีผู้รุกล ้าเข้าในเขตรูปูที่เป็นแหล่งหา

                  กินและอยู่อาศัย ปูก้ามดาบเพศเมียจะมีขนาดเล็กมีก้ามเล็กทั้งสองข้างเท่ากัน สีของกระดองเป็นสีพื้นด าหรือ
                  น ้าตาลไม่มีลวดลายสีสันสวยงามเตะตาเหมือนในเพศผู้ สัตว์หน้าดินต้องใช้พลังงานบางส่วนในการหาคู่เพื่อผสม

                  พันธุ์และรูปแบบในการผสมพันธุ์ด้วย

                           ฟองน ้าส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่มีสองเพศแต่สเปิร์ม (sperm) กับไข่ (eggs) จะไม่สุกพร้อมกัน สเปิร์มของ
                  ฟองน ้าที่ถูกสร้างขึ้นจะถูกปล่อยออกมาทางช่องน ้าออก (osculum) และเข้าสู่ฟองน ้าอีกตัวทางช่องน ้าเข้าของ

                  ฟองน ้าอีกตัว สเปิร์มและไข่ผสมกันภายในตัวของฟองน ้า ตัวอ่อนฟักออกมาเรียกว่า parenchymula larva ซึ่ง

                  ต่อมาจะถูกปล่อยออกจากตัวแม่และว่ายน ้าเป็นอิสระก่อนลงเกาะกับวัตถุใต้น ้าต่อไป (นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร,
                  2551)

                           ลักษณะการสืบพันธุ์ในกลุ่มไนดาเรียนนั้นมีการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศสลับกับการสืบพันธุ์แบบมีเพศ

                  ลักษณะดังกล่าวเรียกว่า alternation of generation เป็นรูปแบบการปรับตัวที่ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างกลุ่ม
                  ประชากรอย่างต่อเนื่องเท่านั้น แต่ยังเป็นการกระจายเพื่อหาแหล่งที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นทั้งที่ส่วนใหญ่เป็นพวกที่

                  เกาะติดอยู่กับที่ ลักษณะการสืบพันธุ์แบบ alternation of generation ดังภาพที่ 3.14 ในระยะ medusa

                  เป็นระยะที่มันล่องลอยในน ้าคล้ายแมงกะพรุนตัวเล็ก ๆ จะเป็นระยะที่มีการสร้างเชื้อสืบพันธุ์คือไข่และสเปิร์ม
                  แยกจากกัน เป็นแยกเพศชัดเจน (dioecious) เชื้อสืบพันธุ์ดังกล่าวจะผสมกันในน ้าทะเลเป็นการผสมพันธุ์

                  ภายนอก (external fertilization) บางชนิดอาจมีการผสมพันธุ์ภายในตัว (internal fertilization) โดยผสมใน

                  อวัยวะสืบพันธุ์ จากไข่ที่ถูกผสมแล้วจะเติมโตเป็นตัวอ่อนที่ว่ายน ้าเป็นอิสระเรียก planula larva หลังจากตัว
                  อ่อนว่ายน ้าเป็นอิสระอยู่ระยะหนึ่งแล้วจะเริ่มลงเกาะกับพื้นเจริญเป็น polyp ซึ่งในระยะนี้มีการสืบพันธุ์แบบไม่

                  มีเพศโดยการแตกหน่อ (budding) หรือการแบ่งตัวแบบ fission เพิ่มจ านวนอย่างรวดเร็วเป็นกลุ่มโคโลนี

                  (colony) ในช่วงที่เป็น medusa จะเคลื่อนที่ในมวลน ้าซึ่งห่างจากโคโลนีเก่าของมัน
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108