Page 108 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 108

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    90
































                  ภาพที่ 3.17 วงจรชีวิตของสัตว์หน้าดินที่มีตัวอ่อนด ารงชีวิตเป็นแพลงก์ตอน
                             ที่มา : Carefoot (1977)



                           วงจรชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งของสัตว์หน้าดินคือการที่ไม่มีช่วงที่ด ารงชีพเป็นแพลงก์ตอนล่องลอยอยู่ใน
                  น ้า ไข่ที่ถูกผสมมักได้รับการดูแลจากพ่อแม่และฟักออกมาเป็นตัวเป็นแบบ direct development ซึ่งพบได้ใน

                  ไส้เดือนทะเลหอยและครัสตาเซียนหลายชนิด ตัวอย่างสัตว์หน้าดินกลุ่มที่ออกลูกเป็นตัวเช่นกลุ่มทากเปลือย

                  (nudibranch) และกลุ่มหอยมะระหรือหอยเจาะ วงจรชีวิตของหอยมะระ Thais lamellosa เริ่มจากการผสม
                  พันธุ์ภายในตัวและมีการสร้างปลอกที่หุ้มไข่ที่ถูกผสมไว้อีกทีหนึ่ง (encapsulation of the eggs) ดังภาพที่

                  3.18 เราจะพบไข่หอยที่ขึ้นเป็นพวงอยู่บริเวณชายฝั่งตามก้อนหิน ไข่หอยจะมีลักษณะเหมือนฝักข้าวโพดโดยที่

                  การพัฒนาของไข่ที่ถูกผสมเป็นตัวอ่อนจนถึงระยะลูกหอย ระยะวัยรุ่น (juveniles) จะเกิดภายในฝักตลอดเวลา
                  ต่อมาลูกหอยระยะวัยรุ่นจะคลานออกจากฝักหอยทางช่องเปิดด้านบนแล้วเติบโตต่อไปเป็นตัวเต็มวัย ในกลุ่ม

                  แมลงสาบทะเล (isopod) ก็จะพบวงจรชีวิตที่คล้ายคลึงกันโดยที่ตัวแม่จะมีช่องพิเศษที่มีลักษณะเป็นถุง

                  (brood pouch) ส าหรับเก็บไข่ที่ถูกผสมแล้วและการพัฒนาของตัวอ่อนจะเกิดขึ้นภายในถุงนี้จนกว่าจะเป็นตัว
                  อ่อนระยะวัยรุ่นที่คืบคลานออกมาจากตัวแม่
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113