Page 111 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 111

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    93



                  คู่สุดท้ายที่มีขนาดเล็กกว่าขาเดินคู่อื่น ปูมักชูขาเดินคู่สุดท้ายนี้ไว้สูงบนหลังเพื่อใช้ยึดฟองน ้า เพรียงหัวหอมหรือ

                  เปลือกหอยให้ติดแน่นบนหลังเพื่อพรางตัว ดังภาพที่ 3.20







































                  ภาพที่ 3.20 ปูแต่งตัวกลุ่ม Majoidea เพื่อพรางตัวหลบหลีกศัตรู

                             ที่มา : Ruppert and Barnes (1994)


                           สัตว์หน้าดินหลายชนิดจะมีพฤติกรรมในการป้องกันแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยเช่นในปู

                  ก้ามดาบและกั้งตักแตน พฤติกรรมในการป้องกันการรุกล ้าของศัตรูเข้ามาในอาณาเขต (territory) เป็นการ
                  ป้องกันทรัพยากรของสัตว์หน้าดิน กั้งตักแตน (mantis shrimp) เป็นสัตว์ทะเลหน้าดินที่ค่อนข้างดุร้ายมัก

                  อาศัยอยู่ตามรูและซอกหิน ซึ่งแต่ละตัวจะมีอาณาเขตและจะต่อสู่เพื่อป้องกันอาณาเขตที่เป็นแหล่งอาหารและที่

                  อยู่อาศัยโดยใช้รยางค์ส่วนอกที่มีขนาดใหญ่ส าหรับจับเหยื่อ (raptorial appendages) และใช้ในการป้องกันตัว
                  กั้งตักแตนจะใช้ raptorial appendages ในการแทงคู่ต่อสู้ ในการต่อสู้ของกั้งตักแตนสองตัวเพื่อแย่งชิงแหล่ง

                  อาหารและที่อยู่อาศัยมักจบลงด้วยการตายของผู้แพ้ ในขณะที่ปูก้ามดาบจะมีการปกป้องแหล่งอาหารและรู

                  เช่นกัน โดยเฉพาะในปูก้ามดาบเพศผู้จะใช้ก้ามข้างใหญ่โบกไปมาเพื่อเตือนไม่ให้ศัตรูรุกล ้าเข้ามา เมื่อมีการเข้า
                  ประชิดถึงตัวกัน ปูก้ามดาบจะใช้ก้ามข้างใหญ่ดันกันไปมาและใช้ในการจับทุ่มเหมือนมวยปล ้า  ตัวที่ถูกจับทุ่ม

                  จะเป็นฝ่ายแพ้ไปและวิ่งหนีไป ไม่มีการตายเกิดขึ้น ดังภาพที่ 3.21
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116