Page 114 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 114

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    96







                            การเปลี่ยนแปลงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งน ้าโดยเฉพาะช่วงน ้าขึ้นน ้าลงในแหล่งน ้ากร่อย

                       และในเขตน ้าขึ้นน ้าลงในทะเล ท าให้สัตว์หน้าดินที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้จ าเป็นต้องมีกิจกรรม

                       การกินอาหาร การหายใจ ตลอดจนการสืบพันธุ์ที่สอดคล้องกับช่วงน ้าขึ้นน ้าลง สัตว์หน้าดิน
                       ต้องมีการปรับตัวด้านการหายใจซึ่งพบว่าสัตว์หน้าดินสามารถหายใจโดยใช้ออกซิเจนจากมวล

                       น ้า และบางชนิดสามารถหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจน ช่วงเวลาน ้าขึ้นน ้าลงจะก าหนดช่วงเวลาที่

                       สัตว์หน้าดินบนหาดโผล่พ้นน ้าและช่วงที่มีน ้าทะเลท่วมตัว ดังนั้นสัตว์หน้าดินจึงมีความจ าเป็น
                       ในการปรับตัวต่อสภาวะอุณหภูมิที่สูงขึ้นและสภาวะการสูญเสียน ้าออกจากตัว การปรับตัวต่อ

                       สภาวะความเค็มที่เปลี่ยนแปลงเป็นการปรับตัวที่ส าคัญส าหรับสัตว์หน้าดินที่อาศัยอยู่บริเวณ

                       แหล่งน ้ากร่อยและบริเวณเขตน ้าขึ้นน ้าลง เนื่องจากความเค็มในแหล่งน ้าจะมีการเปลี่ยนแปลง
                       ตามช่วงเวลาน ้าขึ้นน ้าลงและตามฤดูกาล ศักยภาพในการปรับตัวของสัตว์หน้าดินต่อความเค็ม

                       ที่เปลี่ยนแปลงไปจะเป็นตัวก าหนดขอบเขตการกระจายของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า เนื่องจาก

                       สัตว์หน้าดินส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บริเวณพื้นดินโดยอยู่บนพื้นดินและฝังตัวขุดรูอยู่ในดิน ดังนั้น
                       รูปแบบการสืบพันธุ์และวงจรชีวิตของสัตว์หน้าดินจึงมีความส าคัญ ไม่เพียงแต่เป็นการสร้าง

                       กลุ่มประชากรอย่างต่อเนื่องเท่านั้นแต่เป็นกระบวนการส าคัญในการกระจายของสัตว์หน้าดิน

                       ไปยังแหล่งอาศัยด้วย การปรับตัวด้านการเคลื่อนที่ของสัตว์หน้าดินจะมีความส าคัญในการหาคู่
                       เพื่อการผสมพันธุ์และการแสวงหาแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์หน้าดิน การปรับตัวของสัตว์

                       หน้าดินเป็นกลยุทธส าคัญในการป้องกันตัวเองของสัตว์หน้าดินไม่ให้ถูกกินเป็นอาหาร

                       นอกจากนี้มีบทบาทส าคัญในปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารและแหล่งสืบพันธุ์ของสัตว์
                       หน้าดินด้วย
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119