Page 115 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 115

บทที่ 4

                                         การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างสัตว์หน้าดิน



                  4.1 ความส าคัญในการศึกษาสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า

                           การศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้าในแง่ชนิดและความหลากหลายชนิด

                  ตลอดจนความชุกชุมของสัตว์หน้าดินสามารถใช้บ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน ้าได้ นอกจากนี้สัตว์หน้า
                  ดินหลายชนิดเป็นสัตว์น ้าเศรษฐกิจ เป็นทรัพยากรประมงที่ส าคัญ เช่น กุ้ง หอย ปู และปลาหน้าดินหลายชนิด

                  ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบชนิดและปริมาณของสัตว์หน้าดินที่เป็นสัตว์น ้าเศรษฐกิจเหล่านี้

                  สามารถบอกได้ถึงแหล่งประมง ตลอดจนสถานภาพการประมงในแหล่งน ้าได้ การเลือกศึกษาการเปลี่ยนแปลง
                  องค์ประกอบชนิด และปริมาณของสัตว์หน้าดินกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการก าหนดทรัพยากรประมงเป้าหมาย

                  (Target species) เช่นการศึกษาชนิดและความชุกชุมของกุ้งก้ามกรามบริเวณแม่น ้าป่าสัก หรือการศึกษา

                  สถานภาพทรัพยากรหอยแครงบริเวณปากแม่น ้าแม่กลอง เป็นต้น เนื่องจากสัตว์หน้าดินเป็นแหล่งอาหารที่
                  ส าคัญส าหรับสัตว์น ้าเศรษฐกิจ เช่น ปูทะเล กุ้งทะเล ปลาชนิดต่าง ๆ ตลอดจนนก ดังนั้น ความอุดมสมบูรณ์

                  ของสัตว์หน้าดินจึงใช้เป็นดัชนีที่บ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น ้าเศรษฐกิจและนกชายเลนได้ทางอ้อม เช่น

                  การศึกษาชนิดและความหลากหลายชนิดของสัตว์หน้าดินในบริเวณหาดเลนซึ่งเป็นแหล่งอาหารของนกอพยพ
                  เป็นต้น

                           จากความรู้จากการจ าแนกชนิดของสัตว์หน้าดินตามขนาดเป็นสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ (Macrofauna)

                  และสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก (Meiofauna) นอกจากนี้ยังมีการจ าแนกชนิดของสัตว์หน้าดินตามลักษณะการอยู่
                  อาศัยที่เป็นสัตว์หน้าดินที่อยู่บริเวณพื้นดินหรือหากินบริเวณผิวดิน (Epifauna) และสัตว์หน้าดินที่ฝังตัวอยู่ใน

                  ดินและขุดรูอยู่ในดิน (Infauna) ตลอดจนการจ าแนกลักษณะการกินอาหารของสัตว์หน้าดินรวมทั้งการ

                  เคลื่อนที่และการเกาะอยู่กับที่ของสัตว์หน้าดินความรู้เหล่านี้มีความส าคัญเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการ
                  ออกแบบการเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดิน และการเลือกเครื่องมือในการเก็บตัวอย่างให้เหมาะสม ข้อมูลเบื้องต้นที่

                  ต้องพิจารณาในการวางแผนการศึกษาสัตว์หน้าดิน

                           (1) ขนาดและชนิดของสัตว์หน้าดินซึ่งต้องเลือกเครื่องมือการเก็บตัวอย่างให้เหมาะสม เช่น ขนาด
                  ของตารางสี่เหลี่ยม (Quadrats) ที่ใช้เก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณผิวหน้าดิน ขนาดของท่อ

                  เจาะดิน (Core) ส าหรับศึกษาสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ที่ฝังตัวอยู่ในดิน ตลอดจนเครื่องมือที่ใช้เก็บตัวอย่างสัตว์

                  หน้าดินขนาดเล็กซึ่งต้องมีเครื่องมือเฉพาะและวิธีการเก็บ เนื่องจากมีขนาดเล็กมากแทรกอยู่ระหว่างอนุภาคดิน
                  ตะกอน เป็นต้น

                           (2) การศึกษาสัตว์หน้าดินเป็นเชิงปริมาณ (Quantitative) หรือเป็นเชิงคุณภาพ (Qualitative)

                  รูปแบบการศึกษาสัตว์หน้าดินในเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพจะเป็นตัวก าหนดการวางแผนการออกแบบการ
                  เก็บตัวอย่างตลอดจนสถานีที่ท าการเก็บตัวอย่าง การศึกษาความหลากหลายชนิดและความชุกชุมของสัตว์หน้า

                  ดินในป่าชายเลนเป็นตัวอย่างการศึกษาเชิงปริมาณ ดังนั้นเราต้องออกแบบการเก็บตัวอย่างให้ครอบคลุมทุก
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120