Page 118 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 118

การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างสัตว์หน้าดิน                                                100



                  ข้อมูลปัจจัยทางกายภาพและเคมีที่เป็นตัวแทนของฤดูกาลในแต่ละพื้นที่ เพื่อใช้เปรียบเทียบกับข้อมูลที่เรา

                  ท าการศึกษาอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณางบประมาณและก าลังคนที่จะด าเนินการส ารวจอย่าง
                  ต่อเนื่องจนส าเร็จลุล่วงตามแผนที่วางไว้ การพิจารณาดังที่กล่าวจะท าให้สามารถประมาณจ านวนตัวอย่างที่ควร

                  เก็บและขนาดของแต่ละตัวอย่างได้อย่างถูกต้องต่อไป

                           (1) การเก็บตัวอย่างเพื่อท าการเปรียบเทียบชุมชนสัตว์หน้าดินควรแน่ใจว่าทุกจุดเก็บตัวอย่างมี
                  ลักษณะทางนิเวศวิทยาเหมือนกัน การเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพและเคมีต้องใกล้กับสถานี

                  เก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดิน เพื่อให้แน่ใจถึงความสัมพันธ์ที่แน่ชัดของสัตว์หน้าดินกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ

                           (2) ส าหรับการศึกษาสัตว์หน้าดินในบริเวณที่เกิดภาวะมลพิษควรเลือกจุดเก็บตัวอย่างหรือสถานีเก็บ
                  ตัวอย่าง (Sampling Station) เหนือจุดปล่อยน ้าเสีย 2 จุด และจุดเก็บตัวอย่างใต้จุดปล่อยน ้าเสีย 2 จุด หรือ

                  มากกว่านี้ถ้าจ าเป็น เพื่อเปรียบเทียบว่าสัตว์หน้าดินบริเวณจุดที่ได้รับผลกระทบกับจุดที่ไม่ได้รับผลกระทบจาก

                  มลพิษนั้น ชุมชนสัตว์หน้าดินมีโครงสร้างที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ถ้ามีข้อมูลเบื้องต้นที่รวบรวมจาก
                  งานวิจัยในอดีตมาเปรียบเทียบ เราสามารถท านายการเปลี่ยนแปลงผลกระทบจากมลพิษได้ชัดเจนขึ้น



                           - หลักพิจารณาในการก าหนดจุดเก็บตัวอย่าง
                           (1) ก าหนดจุดอ้างอิง (reference stations) บริเวณต้นน ้าหรือจุดที่อยู่เหนือจากจุดก าเนิดมลพิษ

                  เพราะการส ารวจท าเพื่อประเมินความเสียหายที่มีผลต่อสัตว์น ้า ให้ได้ข้อมูลใช้เปรียบเทียบสัตว์หน้าดินใน

                  บริเวณที่มีมลภาวะและไม่มีมลภาวะ การก าหนดจุดอ้างอิงนั้นควรก าหนดอย่างน้อย 2 จุด โดยจะต้องตั้งอยู่ห่าง
                  จากจุดก าเนิดของมลพิษ เช่นบริเวณต้นน ้าหรืออยู่เหนือบริเวณจุดก าเนิดมลพิษที่คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบ

                  จากมลพิษ อีกจุดอาจอยู่ใกล้บริเวณปล่อยน ้าเสียแต่ต้องไม่ใช้บริเวณที่ใกล้เกินไปจนได้รับผลกระทบ

                           (2) ก าหนดจุดเก็บตัวอย่าบริเวณท้ายน ้าหรือบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษในบริเวณใกล้เคียง
                  กับจุดก าเนิดมลพิษ

                           (3) ถ้ามลพิษไม่ได้ผสมหรือแพร่กระจายทั่วแหล่งน ้า แต่กลับมีการแพร่กระจายเพียงด้านใดด้านหนึ่ง

                  ของแหล่งน ้า หรือแพร่กระจายในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ควรเลือกจุดเก็บตัวอย่างบริเวณฝั่งด้านซ้ายของแหล่ง
                  น ้า ตรงกลางของแหล่งน ้าและฝั่งด้านขวาของแหล่งน ้า เพื่อจะได้ครอบคลุมทิศทางที่มลพิษอาจจะแพร่กระจาย

                  ไป หรือเลือกก าหนดจุดที่สามารถให้ผลที่ตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้

                           (4) ควรก าหนดจุดเก็บตัวอย่างหลาย ๆ จุด ตั้งแต่จุดเก็บตัวอย่างบริเวณท้ายน ้าไล่ขึ้นมาจนถึงจุดที่
                  เป็นจุดก าเนิดของมลพิษ โดยก าหนดให้เป็นเส้นตรงอยู่ในแนวเดียวกัน เพราะจะท าให้ทราบถึงระดับความ

                  รุนแรงของมลพิษบริเวณจุดก าเนิดกับบริเวณที่อยู่ห่างออกไปจากจุดก าเนิดว่าส่งผลต่อสัตว์หน้าดินแตกต่างกัน

                  อย่างไร
                           (5) ในการที่จะเปรียบเทียบชุมชนของสัตว์หน้าดินนั้น จะต้องแน่ใจว่าจุดเก็บตัวอย่างแต่ละจุดมี

                  ระบบนิเวศใกล้เคียงกัน เช่นสภาพพื้นท้องน ้าของจุดเก็บตัวอย่างจะต้องมีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น อาจจะเป็น
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123