Page 110 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 110

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    92



                  ด้วยเพื่อท าให้ศัตรูตกใจ กลุ่มหอยสองฝาเช่นหอยแครงจะสามารถกระโดดหนีการจับกินได้อย่างรวดเร็วโดย

                  ใช้ส่วนเท้าของมันเป็นแรงส่งในการกระโดด ดังภาพที่ 3.19 หมึกจะว่ายน ้าอย่างรวดเร็วเมื่อถูกจู่โจมใน
                  ขณะเดียวกันก็จะปล่อยหมึกสีด าออกมาในน ้าด้วย เพื่อท าให้ศัตรูตกใจและน ้าขุ่นมองไม่เห็นตัวมันในขณะที่

                  มันว่ายน ้าหนีไป ปลิงทะเลก็ใช้กลยุทธเช่นเดียวกับหมึกโดยการส ารอกอวัยวะ Cuverian organ ที่อยู่ภายใน

                  ตัวออกมา เมื่อสัมผัสกับน ้าทะเลจะกลายเป็นใยเหนียวพันตัวศัตรูได้ หรือปลิงทะเลอาจส ารอกส่วนต้นของ
                  ทางเดินอาหารออกมา (Evisceration) ในปลิงทะเลพบได้บ่อยมาก








































                  ภาพที่ 3-19 การหลบหนีศัตรูอย่างรวดเร็วในสัตว์หน้าดิน
                             ที่มา : (ก)  Carefoot (1977)

                                   (ข) https://ocean.si.edu/ocean-life/invertebrates/humboldt-squid-shoots-ink
                                   (ค) ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์ และอัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์ (2540)


                           ในปูทะเลหลายชนิดนอกจากจะพบว่ามีก้ามใหญ่ส าหรับหนีบศัตรูและใช้จับเหยื่อแล้ว ยังพบว่าปู

                  มักจะชอบสลัดก้ามที่ใช้หนีบศัตรูแล้ววิ่งหนีไปได้ นอกจากนี้ยังพบว่าการพรางตัว (camouflage) เป็นกลยุทธ

                  หนึ่งที่พบได้ในสัตว์หน้าดิน โดยการที่มีสีสันที่พรางตา รูปทรง หรือการที่มีวัตถุต่าง ๆ มาติดกับตัวเพื่อใช้ในการ
                  พรางตัวไม่ให้ศัตรูหรือผู้ล่าเห็น เช่นปูเสฉวนอาศัยอยู่ในเปลือกหอยเพื่อป้องกันตัวที่อ่อนนุ่มและป้องกันตัวเอง

                  จากผู้ล่า ปูที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง เช่น Majoidea (spider crabs) และ Dromid crabs จะมีขาเดิน 1-2
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115