Page 107 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 107

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    89



                           หมึกเป็นสัตว์หน้าดินในกลุ่มมอลลัสก์เป็นสัตว์แยกเพศมีการผสมพันธุ์กันโดยการจับคู่ ในหมึก

                  กระดองเพศผู้จะใช้หนวดคู่ยาวล้วงเอาถุงสเปิร์มในล าตัวสอดเข้าไปเก็บไว้ในล าตัวของเพศเมียเพื่อผสมกับไข่
                  การผสมพันธุ์เกิดขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์ เพศเมียจึงเริ่มวางไข่โดยการใช้หนวดน าไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจาก

                  ภายในออกมาวางติดไว้ตามโพรง หมึกส่วนมากจะมีอายุขัยโดยเฉลี่ยไม่เกิน 4 ปี อย่างหมึกกระดองมีอายุขัย

                  ราว 240 วัน หมึกถือเป็นสัตว์ที่มีการเจริญเติบโตเร็วมากเมื่ออายุถึง 3 เดือน ก็สามารถสืบพันธุ์ได้ หมึกมักจะ
                  จับคู่เป็นคู่ ๆ โดยในหมึกกระดองตัวผู้จะมีถุงสเปิร์ม ซึ่งตัวผู้จะใช้หนวดดึงถุงสเปิร์มนี้ไว้ในตัวตัวเมียบริเวณรอบ

                  ปากในขณะที่หมึกกล้วยจะทิ้งไว้ข้างล าตัว


                        3.6.3 วงจรชีวิตของสัตว์หน้าดิน (life history)

                           ภาพที่ 3.17 เป็นวงจรชีวิตส่วนใหญ่ของสัตว์หน้าดินทั้งในแหล่งน ้าจืดและในทะเล การผสมพันธุ์ของ

                  ไข่และสเปิร์มอาจเกิดขึ้นในมวลน ้าภายนอกหรือภายในตัวพ่อแม่ได้ ไข่ที่ถูกผสมจะเป็นตัวอ่อนที่ด ารงชีพเป็น
                  แพลงก์ตอนส่องลอยในมวลน ้า ตัวอ่อนที่เป็นแพลงก์ตอนนี้จะมีรูปร่างที่ต่างจากพ่อแม่อย่างมาก ช่วงระยะเวลา

                  ในการด ารงชีพเป็นแพลงก์ตอนอาจสั้นเป็นนาทีหรือยาวเป็นวัน บางชนิดอาจมีตัวอ่อนระยะแพลงก์ตอน

                  ล่องลอยเป็นเดือน ตัวอ่อนที่เป็นแพลงก์ตอนนั้นพบได้ 2 แบบคือ ตัวอ่อนที่สามารถหาอาหารกินเองได้
                  (planktotrophic larvae) ตัวอ่อนแพลงก์ตอนชนิดนี้สามารถล่องลอยอยู่ในมวลน ้าได้นานตราบเท่าที่ยังมี

                  อาหาร ตัวอ่อนแพลงก์ตอนแบบที่สองคือตัวอ่อนแพลงก์ตอนที่ได้รับอาหารจากแม่ไม่สามารถหาอาหารกินเอง

                  ได้ (Lecithotrophic larvae) ตัวอ่อนแบบหลังนี้จะเจริญมาจากไข่ที่มีขนาดใหญ่เนื่องจากมีอาหารสะสมไว้ใน
                  รูปไข่แดง (yolk) ไว้ให้ตัวอ่อนกินในช่วงที่ลอยอยู่ในมวลน ้า ระยะเวลาที่ตัวอ่อนแบบ Lecithotrophic larvae

                  จะด ารงชีพเป็นแพลงก์ตอนจะสั้นขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่สะสมไว้ให้ ความแตกต่างอีกอย่างที่พบในตัวอ่อนที่

                  เป็น planktotrophic larvae เมื่อเทียบกับตัวอ่อนที่เป็น lecithotrophic larvae คือตัวอ่อนแบบแรกจะมี
                  ศักยภาพในการเคลื่อนที่ได้มากกว่า สามารถว่ายน ้าขึ้นลงเพื่อส ารวจพื้นท้องทะเลเพื่อลงเกาะได้ ในขณะที่ตัว

                  อ่อนแพลงก์ตอนที่เป็น lecithotrophic larvae จะมีศักยภาพในการว่ายน ้าได้น้อยกว่าหรืออาจไม่มีเลย ตัว

                  อ่อนสัตว์ทะเลหน้าดินจะมีศักยภาพในการลงส ารวจพื้นท้องทะเลเพื่อดูความเหมาะสมในแง่ที่เป็นแหล่งที่อยู่
                  อาศัยและแหล่งอาหารก่อนจะตัดสินใจลงเกาะบริเวณที่ส ารวจ และเปลี่ยนแปลงรูปร่างให้เหมือนกับตัวเต็มวัย

                  ช่วงเวลาในการส ารวจพื้นเพื่อการเกาะจะยาวในตัวอ่อนที่เป็น planktotrophic larvae วงจรชีวิตของไส้เดือน

                  ทะเลและหอยที่ได้น าเสนอไปแล้วเป็นตัวอย่างได้อย่างดี
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112