Page 102 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 102

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    84



                  สัตว์หน้าดินที่อาศัยอยู่บริเวณเขตน ้ากร่อยในป่าชายเลน ปูเหล่านี้จะมีความสามารถในการควบคุมน ้าและเกลือ

                  แร่ได้ดีโดยสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของความเค็มของแหล่งน ้าภายนอก เราเรียกสัตว์หน้าดินกลุ่มที่มีการ
                  ควบคุมน ้าและเกลือแร่ได้ดีว่า osmoregulators ในปูก้ามดาบและปูแสมเมื่อความเค็มของน ้าที่มันอาศัยอยู่

                  ลดลงเนื่องจากมีปริมาณน ้าจืดหรือปริมาณน ้าฝนไหลลงมา ปูพวกนี้ปรับตัวให้ความเข้มข้นของของเหลวภายใน

                  ตัวหรือภายในเลือดให้สูงกว่าปริมาณความเข้มข้นของความเค็มภายนอกตัว ในทางกลับกันเมื่อความเค็มของน ้า
                  ภายนอกสูงขึ้นเนื่องจากน ้าขึ้นหรือน ้าทะเลหนุน ปูจะปรับให้ความเข้มข้นของเกลือแร่ภายในเลือดต ่ากว่าน ้า

                  ภายนอก นอกจากนี้ปูก้ามดาบและปูแสมจะมีกระดองหรือเปลือกหุ้มที่จะช่วยลดการสัมผัสของตัวปูเองกับน ้า

                  ทะเลภายนอก รูปูก็จะช่วยป้องกันตัวปูเองจากสภาพภายนอกที่มีความเค็มหรืออุณหภูมิสูงเกินไป


                  3.6 การปรับตัวด้านการสืบพันธุ์ (reproduction) และวงจรชีวิต (life history) ของสัตว์หน้าดิน

                           การปรับตัวด้านการสืบพันธุ์มีความส าคัญในการสร้างกลุ่มประชากรสัตว์หน้าดินอย่างต่อเนื่องใน
                  แหล่งที่อยู่อาศัย สัตว์หน้าดินแต่ละชนิดจะมีการแบ่งสรรพลังงานที่ได้จากการกินอาหารของมันมาใช้ในการ

                  สืบพันธุ์ นับตั้งแต่การพัฒนาเชื้อสืบพันธุ์ทั้งสเปิร์มและไข่ตลอดจนวิธีการสืบพันธุ์เริ่มตั้งแต่การเตรียมความ

                  พร้อมของสัตว์หน้าดินที่โตเต็มวัยที่จะผสมพันธุ์ การแสวงหาคู่เพื่อผสมพันธุ์และรูปแบบการผสมพันธุ์ หลังการ
                  ผสมพันธุ์แล้วสัตว์หน้าดินก็ต้องใช้พลังงานส่วนหนึ่งในการดูแลไข่และตัวอ่อนให้เติบโตเป็นตัวแก่หรือตัวโตเต็ม

                  วัย สัตว์หน้าดินบางชนิดจะมีการเคลื่อนที่เพื่อหาแหล่งผสมพันธุ์วางไข่และอนุบาลตัวอ่อนที่เหมาะสม การ

                  สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) เป็นการสืบพันธุ์ที่ใช้พลังงานน้อยเมื่อเทียบกับการสืบพันธุ์
                  แบบมีเพศ (sexual reproduction) เนื่องจากไม่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ มักพบในสัตว์หน้าดินขนาดเล็กและ

                  อยู่เป็นกลุ่ม


                        3.6.1 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction)

                           การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศพบได้ตั้งแต่ในกลุ่มโปรตัวซัว กลุ่มฟองน ้าและกลุ่มไนคาเรียนบางกลุ่ม

                  การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในฟองน ้ามักพบเป็นลักษณะการแตกหน่อ (budding) หรืออาจมีการรวมตัวของ
                  กลุ่มเซลล์ amoebocytes ซึ่งสะสมอาหารไว้ได้มาก การรวมตัวของกลุ่มเซลล์ amoebocytes นี้เรียกว่า เจม

                  มูล (gemmules) การสร้างเจมมูลในฟองน ้ามักเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมเช่นอากาศ

                  หนาวหรืออากาศแห้งแล้งเกินไป เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสมฟองน ้าจะปล่อยเจมมูลออกมาให้เติบโตเป็น
                  ฟองน ้าตัวใหม่ได้ พวกไฮดราเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์ก็จะสืบพันธุ์แบบแตกหน่อ (budding) โดยที่

                  ล าตัวของไฮดราจะพบปุ่มเล็กที่เป็นหน่อยื่นออกมาข้างล าตัว เมื่อหลุดออกมาก็สามารถเจริญเป็นไฮดราตัวใหม่

                  ได้ สัตว์หน้าดินที่มีขนาดใหญ่ขึ้นในกลุ่มไส้เดือนทะเลหรือกลุ่มแอนนิลิตก็พบการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้
                  การสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศที่พบได้ในกลุ่มแอนนิลิต คือ การขาดเป็นท่อน (fragmentation) การแตกหน่อ

                  (budding) และการแบ่งตัวเป็นท่อน (stolonization)
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107