Page 101 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 101

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    83



                  หาดหิน เช่น หอยหมวกเจ๊ก หอยแปดเกล็ดและเพรียงหินมักมีเปลือกที่หนาและแข็งแรง หอยแมลงภู่และหอย

                  นางรมจะปิดฝาแน่นในยามที่โผล่พ้นน ้าขณะที่น ้าลง การหลบซ่อนของสัตว์หน้าดินอยู่ตามซอกหิน รอยแยกใน
                  หินและแอ่งน ้าก็เป็นการปรับตัวต่อสภาวะอุณหภูมิที่สูงขึ้นและการสูญเสียน ้าออกจากตัว หอยขี้นกซึ่งเป็นหอย

                  ขนาดเล็กที่อยู่บริเวณหาดหิน มักอยู่รวมเป็นกลุ่มและปล่อยเมือกออกมาเพื่อห่อหุ้มตัวเพื่อรักษาสภาพความชื้น

                  ไว้ด้วย ปูก้ามดาบที่อยู่ในป่าชายเลนและหาดเลนจะวิ่งลงรูเป็นครั้งคราวเพื่อจุ่มตัวในแอ่งน ้าที่ลึกอยู่ในรูเพื่อให้
                  ได้ความชื้นและแก้ปัญหาการสูญเสียน ้าจากตัว นอกจากนี้กระดองของปูยังช่วยป้องกันตัวเองด้วย กลยุทธอีก

                  ประการหนึ่งที่สัตว์หน้าดินใช้เพื่อต่อสู้กับสภาวะอุณหภูมิสูงโดยเฉพาะช่วงน ้าตาย ซึ่งน ้าจะลงเป็นเวลานานมาก

                  คือปูจะพยายามรักษาอุณหภูมิภายในร่างกายให้ต ่ากว่าอุณหภูมิภายนอกเป็น evaporative cooling
                  นอกจากนี้การควบคุมเม็ดสีบนเปลือกหรือกระดองของปูเพื่อให้กระดองปูหรือเปลือกหอยมีสีเข้มหรือสีอ่อน

                  ตามสภาวะอุณหภูมิภายนอกก็ช่วยป้องกันตัวสัตว์ได้เช่นกัน เช่นกระดองของปูก้ามดาบจะมีสีจางเพื่อช่วยใน

                  การสะท้อนแสง เป็นต้น


                  3.5 การปรับตัวต่อสภาวะความเค็มที่เปลี่ยนไป (osmoregulation)

                           การปรับตัวต่อสภาวะความเค็มที่เปลี่ยนแปลงเป็นการปรับตัวที่ส าคัญส าหรับสัตว์หน้าดินที่อาศัยอยู่
                  บริเวณน ้ากร่อยและบริเวณเขตน ้าขึ้นน ้าลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความเค็มเกิดขึ้นในช่วง 24 ชั่วโมง ตาม

                  ช่วงเวลาน ้าขึ้นน ้าลงและเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล โดยเฉพาะในเขตร้อนเช่นประเทศไทยซึ่งมีเพียงฤดูฝนและฤดู

                  แล้งเท่านั้น ซึ่งรูปแบบการปรับตัวต่อสภาวะความเค็มได้อธิบายและพร้อมยกตัวอย่างไปแล้วในสัตว์หน้าดินที่
                  อาศัยบริเวณป่าชายเลนเป็นหลัก ศักยภาพในการปรับตัวของสัตว์หน้าดินต่อสภาวะความเค็มที่เปลี่ยนไปจะ

                  เป็นตัวก าหนดขอบเขตการกระจายของสัตว์หน้าดิน สัตว์หน้าดินที่อยู่ในแหล่งน ้าจืดและในทะเลเปิดทะเลลึก

                  มักมีการกระจายแคบตามช่วงความเค็มที่เหมาะสมที่สัตว์เหล่านี้ด ารงชีพอยู่ได้ สัตว์กลุ่มนี้ไม่สามารถทนได้ใน
                  ความเค็มที่เปลี่ยนแปลงไปเกินกว่าช่วงความเค็มที่เหมาะสมในการด ารงชีพ เช่น กลุ่มไส้เดือนน ้า หนอนแดง

                  และหอยน ้าจืดจะไม่สามารถอยู่ได้ในระดับความเค็มที่เกิน 3-8 psu ส่วนสัตว์ทะเลกลุ่มเอคไคโนเดิร์ม เช่น

                  ปลิงทะเล เม่นทะเลและดาวทะเลจัดเป็นสัตว์ทะเลทั้งหมดจะพบแต่บริเวณทะเลเปิดและทะเลลึกที่น ้ามีความ
                  เค็มเกิน 25 psu ขึ้นไป เราจะไม่พบปลิงทะเล เม่นทะเลและดาวทะเลในบริเวณปากแม่น ้าเลย สัตว์หน้าดินที่

                  กระจายได้ในขอบเขตจ ากัดตามช่วงความเค็มที่เหมาะสมกับการด ารงชีพเราเรียกว่า stenohaline ซึ่งลักษณะ

                  การกระจายดังกล่าวจะต่างจากการกระจายของสัตว์หน้าดินที่อยู่บริเวณน ้ากร่อยและปากแม่น ้า สัตว์หน้าดินที่
                  มีการกระจายในขอบเขตที่กว้างตามความเค็มที่เปลี่ยนแปลงไปเราเรียกว่า euryhaline ในการปรับตัวของสัตว์

                  หน้าดินน ้าจืดและสัตว์ทะเลต่อความเค็มนั้นพบว่าสัตว์กลุ่มนี้จะทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มได้น้อย

                  มาก สัตว์จะพยายามรักษาน ้าและเกลือแร่ในตัวให้คงที่ให้ใกล้เคียงกับความเค็มของน ้าภายนอกที่มันอาศัยอยู่
                  เราเรียกสัตว์หน้าดินกลุ่มนี้ว่า osmoconformers ตัวอย่างเช่นปลิงทะเลตามปกติอยู่ได้ดีในทะเล เนื่องจาก

                  ความเข้มข้นของน ้าภายในตัวประมาณ 28 psu ใกล้เคียงกับความเค็มของน ้าทะเลภายนอกที่มันอยู่ ถ้าเราเอา

                  ปลิงทะเลมาใส่เลี้ยงในน ้าจืดน ้าก็จะซึมเข้าปลิงทะเลจนตัวมันแตกตายได้ ปูก้ามดาบและปูแสมเป็นตัวแทนของ
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106