Page 100 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 100

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    82



                  แล้วกลับมาหายใจโดยใช้ออกซิเจนตามปกติ เราพบว่ากลยุทธในการหายใจโดยออกซิเจนสลับกับการหายใจ

                  โดยไม่ใช้ออกซิเจนพบได้ในสัตว์หน้าดินบางชนิดที่พบกับปัญหาน ้าเน่าเสียในแหล่งน ้า ซึ่งถ้าภาวะความเน่าเสีย
                  เกิดขึ้นเป็นเวลานานหรือมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นสัตว์หน้าดินเหล่านี้ก็ทนไม่ได้และตายได้ในที่สุด



                        3.3.3 การปรับตัวต่อสภาพดินที่มีปริมาณอินทรียสารสูง
                           สัตว์หน้าดินหลายชนิดจะปรับตัวให้อยู่ได้ในสภาพดินที่มีปริมาณอินทรียสารสูงได้ ซึ่งเป็นบริเวณที่มี

                  ปริมาณออกซิเจนต ่าและมีการสะสมปริมาณซัลไฟด์ในดิน เราพบการปรับตัวในไส้เดือนทะเลที่พบได้ในบริเวณ

                  นี้จะมีลักษณะการเพิ่มหรือขยายสัดส่วนพื้นที่ผิว (surface) ต่อปริมาตรในบริเวณเหงือกหรือพื้นที่ผิวที่ท าหน้าที่
                  หลักในการหายใจ การเพิ่มหรือขยายสัดส่วนพื้นที่ผิวต่อปริมาตรในบริเวณเหงือกนี้เป็นการเพิ่มศักยภาพการ

                  แลกเปลี่ยนก๊าซเพื่อการหายใจในรูปแบบที่ง่ายที่สุด จากการศึกษาของ Lamont and Gage (2000) พบว่า

                  ไส้เดือนในวงศ์ Spionidae สามารถทนได้ต่อสภาพดินตะกอนอินทรียสารสูงได้ดี ไส้เดือนสกุล Prionospio
                  (minuspio) sp. A จะพัฒนาส่วนรยางค์ส่วนเหงือกที่ใช้ในการหายใจเพิ่มขึ้น ในประเทศญี่ปุ่นมีการใช้ไส้เดือน

                  ทะเล Paraprionospio patiens เป็นดัชนีบ่งชี้สภาพชายฝั่งทะเลที่มีปริมาณอินทรียสารสูงและมีปริมาณ

                  ออกซิเจนต ่านั้นจะมีส่วนเหงือกขยายใหญ่ มีลักษณะเป็นแผนซับซ้อนกันรวม 50 คู่ เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการ
                  แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน (Yokohama, 2007) To-orn (2015) ได้ศึกษาเปรียบเทียบลักษณะอวัยวะที่ใช้ใน

                  การหายใจในไส้เดือนทะเลสกุล Prionospio ที่อยู่ในบริเวณดินตะกอนที่มีปริมาณอินทรียสารต่างกันในบริเวณ

                  ชายฝั่งทะเลศรีราชา จังหวัดชลบุรี เขาพบว่าความยาวของคู่เหงือก (length of branchial pairs) และจ านวน
                  แขนง (branchial  pinnules) บนคู่เหงือกจะต่างกันตามแหล่งที่อยู่อาศัยของไส้เดือนทะเลที่เป็นชนิดเดียวกัน

                  ไส้เดือนทะเลที่อาศัยอยู่ในบริเวณดินตะกอนที่มีปริมาณอินทรียสารสูงจะมีความยาวของคู่เหงือกจ านวนแขนง

                  บนคู่เหงือกสูงกว่าไส้เดือนทะเลที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอินทรียสารต ่า ลักษณะดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นตามขนาดตัว
                  ของไส้เดือนทะเล การศึกษาของ To-orn (2015) ในครั้งนี้พบว่าลักษณะความแตกต่างกันในอวัยวะที่ใช้ในการ

                  หายใจของไส้เดือนทะเลในดินตะกอนที่มีปริมาณอินทรียสารต่างกันนั้น สามารถพบได้ตั้งแต่ระยะที่ไส้เดือน

                  ทะเลเริ่มลงเกาะในดินตะกอนจนถึงระยะไส้เดือนที่โตเต็มวัย


                  3.4 การปรับตัวต่อสภาวะอุณหภูมิที่สูงขึ้นและการสูญเสียน ้าออกจากตัว

                           ช่วงน ้าขึ้นน ้าลงเป็นตัวก าหนดช่วงเวลาในการท ากิจกรรมของสัตว์หน้าดินทั้งการกินอาหาร การ
                  หายใจตลอดจนการสืบพันธุ์ สภาวะอุณหภูมิที่สูงขึ้นและการสูญเสียน ้าออกจากตัวเป็นปัญหาใหญ่ส าหรับสัตว์

                  หน้าดินที่อาศัยอยู่บริเวณเขตน ้าขึ้นน ้าลง ซึ่งได้มีการกล่าวถึงรูปแบบสัตว์หน้าดินที่ใช้ในการปรับตัวเพื่อ

                  ตอบสนองต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นและลดการสูญเสียน ้าออกจากตัวไปแล้วในกลุ่มสัตว์หน้าดินที่อาศัยอยู่บริเวณหาด
                  หิน หาดทรายและป่าชายเลน การปรับตัวลักษณะแรกที่พบในสัตว์หน้าดินเมื่อต้องเผชิญกับสภาวะอุณหภูมิที่

                  สูงขึ้นและลดการสูญเสียน ้าออกจากตัว คือการลดการสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากสภาพแวดล้อมภายนอก

                  โดยการหดตัวอยู่ภายในเปลือกหอยหรือปลอกหุ้มรู (tube) หรือฝังตัวอยู่ในดินในรู สัตว์หน้าดินที่อยู่บริเวณ
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105