Page 97 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 97

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    79



                        3.3.1 การหายใจโดยใช้ออกซิเจน (aerobic respiration)

                           สัตว์หน้าดินส่วนใหญ่หายใจโดยใช้ออกซิเจนถึงแม้พื้นท้องน ้าหรือพื้นดินบางบริเวณจะมีปริมาณ
                  ออกซิเจนต ่าก็ตาม การหายใจโดยใช้ออกซิเจน (aerobic respiration) ของสัตว์หน้าดินยังแบ่งออกตามแหล่ง

                  ของออกซิเจนที่สัตว์หน้าดินใช้ในการหายใจ คือการหายใจโดยใช้ออกซิเจนในมวลน ้า (aquatic respiration)

                  และการหายใจโดยใช้ออกซิเจนจากอากาศโดยตรง (aerial respiration) คล้ายที่พบในสัตว์บกหรือในมนุษย์
                           ไนดาเรียนกลุ่มไฮดรา ดอกไม้ทะเล และปะการังเป็นสัตว์หน้าดินที่อาศัยเกาะกับที่ตามวัตถุใต้น ้า

                  กิจกรรมของชีวิตด้านการกินอาหาร การหายใจและการขับถ่ายของเสียยังอาศัยระบบไหลเวียนน ้า ไนดาเรียน

                  หายใจแลกเปลี่ยนก๊าซผ่านผิวหนังล าตัวและหนวด ในกลุ่มไฮดราจะมีน ้าไหลเข้าออกทางช่องปากผ่านช่องว่าง
                  ในตัวคือ gastrovascular cavity ท าให้เกิดการไหลเวียนและมีการแลกเปลี่ยนก๊าซในบริเวณนี้ ในกลุ่ม

                  ดอกไม้ทะเลมีการแลกเปลี่ยนก๊าซบางส่วนในบริเวณหนวดและภายในช่องว่างในตัว โดยมีร่องข้างปากเรียก

                  ไซโฟโนกลิฟ (Siphonoglyph) ซึ่งมีขนอ่อน (cilia) บุอยู่ท าหน้าที่โบกพัดน ้าเข้าตัว
                           พวกแอนนิลิดมีการแลกเปลี่ยนก๊าซผ่านทางผิวหนัง รยางค์พาราโปเดียที่ยื่นออกมาจากแต่ละปล้อง

                  และเหงือก ในพวกแม่เพรียงหรือไส้เดือนทะเลสกุล Nereis มีรยางค์พาราโพเดีย (parapodia) ขนาดใหญ่ท า

                  หน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ โดยที่บริเวณรยางค์พาราโปเดียมีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงจ านวนมาก พวกไส้เดือนน ้าส่วน
                  ใหญ่จัดเป็นพวกที่ทนต่อภาวะมลพิษจากสารอินทรีย์สูง เนื่องจากสามารถทนต่อสภาวะปริมาณออกซิเจน

                  ละลายน ้าต ่าได้ดีเช่นไส้เดือนน ้าในวงศ์ Tubificidae และ Naididae สัตว์หน้าดินกลุ่มเหล่านี้เป็นพวกที่ดูดซึม

                  ก๊าซออกซิเจนผ่านผนังล าตัวโดยตรง ประกอบกับไส้เดือนน ้ามีขนาดตัวค่อนข้างเล็กซึ่งช่วยลดการใช้ออกซิเจน
                  ได้มากและท าให้อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีปริมาณออกซิเจนละลายน ้าต ่าได้ ส่วนไส้เดือนน ้าที่มีขนาดตัวใหญ่ เช่น

                  ไส้เดือนน ้า Branchiura sowerbyi มีการพัฒนาของรยางค์เหงือกที่บริเวณส่วนท้ายล าตัวให้ยาว และมีจ านวน

                  มากเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน (Weber, 1978) ในไส้เดือนทะเลโดยเฉพาะที่ฝังตัว
                  อยู่ในดินจะมีปล้องส่วนหัวพัฒนาโดยลดรูปและมีรยางค์ส่วนพาราโพเดียที่เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นเหงือกมีลักษณะ

                  เป็นเส้นหนวดยาวหรือกลุ่มหนวดที่ท าหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ดังภาพที่ 3.12





















                  ภาพที่ 3.12 ลักษณะของเหงือกไส้เดือนทะเลกลุ่มที่ฝังตัวหรือขุดรูอยู่ในดิน
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102