Page 93 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 93

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    75



                  ท่วมหรือต ่ากว่าเขตน ้าขึ้นน ้าลง ในการกินอาหารของดาวทะเลอาจปล่อยส่วนต้นของกระเพาะอาหารออกทาง

                  ช่องปากเพื่อย่อยเหยื่อแล้วดูดเหยื่อที่ย่อยกลับเข้าไปในตัวแล้วท าการย่อยต่อภายในตัว ดาวทะเลต่างชนิดกันที่
                  อยู่ร่วมกันบนโขดหินมีการแบ่งสรรทรัพยากรอาหารได้อย่างลงตัว โดยพบว่าดาวทะเลแต่ละชนิดจะมีการเลือก

                  กินอาหารที่ชอบและมีขนาดเหมาะสมเป็นพวกที่กินเฉพาะเจาะจง (specialists) ดังนั้นดาวทะเลจึงสามารถ

                  หลีกเลี่ยงการแก่งแย่งกันได้เช่นการศึกษาการอยู่ร่วมกันของดาวทะเลขนาดใหญ่ Piaster ochraceus และดาว
                  ทะเลขนาดเล็ก Leptasterias hexactis ที่หาดหินรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าดาวทะเลทั้งสอง

                  ชนิดจะกินเหยื่อกลุ่มเดียวกันคือเพรียงหินขนาดต่างกัน โดยดาวทะเลขนาดใหญ่จะเลือกกินเพรียงหินที่มีขนาด

                  ใหญ่ ในขณะที่ดาวทะเลขนาดเล็กเลือกกินเพรียงหินขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้อัตราการกินเหยื่อชนิด
                  เดียวกันก็ต่างกัน เช่น หอยหมวกเจ๊ก หอยแมลงภู่และหอยขี้นก เป็นต้น (Carefoot, 1977)





















                  ภาพที่ 3.8  ลักษณะของดาวทะเล (ก) ด้านปากและด้านตรงข้ามปาก (ข) ดาวทะเลที่พบตามธรรมชาติ

                             ที่มา : Daviddi (2015)


                        3.2.2 การเคลื่อนที่บนพื้นดินที่อ่อนนุ่ม (soft substrate)

                           บริเวณพื้นดินที่อ่อนนุ่มเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์หน้าดิน เป็นองค์ประกอบของอนุภาคดินตะกอน
                  ขนาดต่างกัน ปริมาณอินทรียสารและปริมาณน ้าในดิน (pore water) ขนาดอนุภาคดินตะกอนที่พบบริเวณ

                  หาดจะสะท้อนถึงอิทธิพลของคลื่นและกระแสน ้าในบริเวณนี้ หาดทรายที่มีขนาดอนุภาคดินตะกอนค่อนข้าง

                  ใหญ่สะสม เนื่องจากบริเวณนี้เป็นบริเวณที่รับอิทธิพลจากคลื่นลมและกระแสน ้าที่แรง ในขณะที่หาดเลนมี
                  ขนาดอนุภาคดินตะกอนขนาดเล็กและมีปริมาณอินทรียสารสะสมอยู่มาก เพราะเป็นบริเวณที่หลบคลื่นลมและ

                  มีกระแสน ้าไหลไม่แรง สัตว์หน้าดินที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นดินที่อ่อนนุ่มมักจะฝังตัวอยู่บริเวณผิวดินหรืออาจขุด

                  รูฝังตัวอยู่ในที่ลึก สัตว์หน้าดินที่ฝังตัวอยู่ในดินจะเคลื่อนที่ไปในดินเพื่อหาอาหาร การที่สัตว์หน้าดินจะฝังตัวได้
                  ในพื้นดินต้องขึ้นอยู่กับศักยภาพของตัวสัตว์เองในการที่จะผลักอนุภาคดินตะกอนออกไปเพื่อแทรกตัวลงลึกไป

                  ในดิน ลักษณะความร่วนซุยของดินตะกอน ขนาดอนุภาคดินตะกอน ตลอดจนปริมาณน ้าในดินจะเป็นตัวตัดสิน

                  ความส าเร็จในการขุดดินเพื่อฝังตัวหรือสร้างรูตลอดจนปลอกหุ้มรูในดินของสัตว์หน้าดิน หอยฝาเดียวเคลื่อนที่
                  บนพื้นดินเลนที่อ่อนนุ่มโดยใช้เท้าซึ่งเป็นกล้ามเนื้อหนาและอยู่ด้านท้อง หอยสองฝานอกจากเคลื่อนที่โดยใช้เท้า
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98