Page 89 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 89

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    71

















































                  ภาพที่ 3.5  ลักษณะภายในของปะการัง

                             ที่มา :  https://coralreef.noaa.gov/education/coralfacts.html


                           สัตว์หน้าดินที่ด ารงชีพเป็นผู้ล่าส่วนใหญ่จะมีอวัยวะที่ใช้ในการจับเหยื่อเช่นรยางค์ส่วนหนวดหรือก้าม

                  ที่แข็งแรงที่พบในปูทะเลเป็นต้น ผู้ล่าอาจมีเข็มพิษที่ปล่อยออกมาเพื่อสยบเหยื่อหรือฆ่าเหยื่อเช่นเข็มพิษ
                  nematocyst ในกลุ่มไนดาเรียน ไส้เดือนทะเลที่เป็นผู้ล่าเช่นวงศ์ Nereididae จะมีเขี้ยวขนาดใหญ่ที่ช่องปาก

                  หรือไส้เดือนทะเลในวงศ์ Glycera spp. จะเห็นที่ยื่นออกได้เป็นงวงเพื่อล่าเหยื่อและที่ปลายงวงจะเห็นเขี้ยว 4

                  อันอย่างเด่นชัด ผู้ล่าส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่ตามเหยื่ออย่างรวดเร็วเนื่องจากมีอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่ที่พัฒนา
                  ได้อย่างดี นอกจากนี้ผู้ล่ายังใช้สายตาในการไล่ล่าติดตามเหยื่อ ดังนั้นอวัยวะในการมองเห็นเช่นตาจะมีการ

                  พัฒนาได้อย่างดี เช่นตาของปูจะมีก้านตาที่ชูขึ้นท าให้มองเห็นได้ชัดดังที่พบในปูลม (ghost crabs) ที่อยู่บนหาด

                  ทรายและปูทะเล ปูม้า ปูทะเลเป็นผู้ล่าที่ชอบหากินเวลากลางคืนและเป็นผู้ล่าที่ชอบไล่เหยื่อที่มีชีวิต อาหาร
                  หลักของปูทะเล ได้แก่ ปูแสม ปูก้ามดาบ หอยขี้นกและหอยขี้กา การไล่ล่าเหยื่อของสัตว์หน้าดินแบ่งออกได้  2

                  รูปแบบ คือผู้ล่าบางชนิดจะเป็นพวกที่แอบซุ่มอยู่กับที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งและเมื่อเหยื่อผ่านมาในรัศมีจึงท า

                  การจู่โจมเหยื่อและจับกินจัดเป็นพวกจู่โจม (ambush predator) ส่วนผู้ล่าอีกกลุ่มหนึ่งจะไล่ล่าเหยื่อโดยการ
                  เคลื่อนที่ไปหาเหยื่อหรือไล่ล่าและจู่โจมจัดเป็นพวกไล่ล่า (pursuit hunters) เช่น ปูทะเล ไส้เดือนทะเลกลุ่ม
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94