Page 86 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 86

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    68



                           หอยสองฝาเช่น หอยแมลงภู่ หอยกะพงและหอยนางรมเป็นตัวอย่างสัตว์หน้าดินที่เกาะติดอยู่กับที่

                  และกรองอาหารจากมวลน ้า หอยสองฝากลุ่มนี้จะใช้อวัยวะส่วนเหงือกในการกรองอาหารเมื่อมีกระแสน ้า
                  ไหลเวียนผ่านตัว ไส้เดือนทะเลกลุ่ม fan worms ในวงศ์ Sabellidae จะยื่นส่วนหนวดซึ่งเรียงเป็นวงออกมาใน

                  มวลน ้าและกรองอาหารจากมวลน ้า ในกลุ่มสัตว์หน้าดินที่กรองอาหารจากมวลน ้านั้นเราจะพบค าศัพท์อยู่สอง

                  ค าคือ filter feeders และ suspension feeders ซึ่งจะความแตกต่างกันเล็กน้อย กลุ่มสัตว์ที่กรองอาหารจาก
                  มวลน ้าทั้งที่เป็น filter feeders นั้นจะเลือกกรองอาหารที่มีขนาดอนุภาคเล็กพอเหมาะกับซี่กรองของอวัยวะที่

                  ใช้ในการกรองเช่นเหงือกของหอยสองฝาเป็นต้น นอกจากนี้ยังเลือกกรองอาหารเช่นกลุ่มแพลงก์ตอนพืชหรือ

                  แพลงก์ตอนสัตว์ที่มีขนาดเหมาะสมและมีคุณค่าอาหารสูงด้วย แต่สัตว์ที่กรองอาหารจากมวลน ้าที่เป็น
                  suspension feeders เป็นกลุ่มที่กรองอาหารโดยไม่มีการคัดเลือกขนาดและคุณภาพของอาหาร มักมีการ

                  ปล่อยเมือกออกมาเพื่อช่วยรวบรวมหรือดักอาหารที่แขวนลอยอยู่ในมวลน ้าให้ได้มากที่สุด พบได้ในกลุ่มไส้เดือน

                  ทะเลที่ฝังตัวอยู่แล้วใช้ส่วนหนวดยื่นออกในมวลน ้าหรือท าการกวนตะกอนจากพื้นดินให้ฟุ้งลอยเข้าไปในมวลน ้า
                  แล้วใช้หนวดกรองอาหารอีกทีหนึ่ง



                        3.1.3 กลุ่มสัตว์หน้าดินที่กินอินทรียสารในดิน (deposit feeders/ detritus feeders)
                           การกินอินทรียสารที่เกาะติดอนุภาคดินตะกอนหรือปริมาณอินทรียสารในดินเป็นรูปแบบการกินที่

                  พบมากในสัตว์หน้าดิน ปริมาณอินทรียสารในดินทั้งอินทรียสารที่เกาะอยู่กับอนุภาคดินตะกอนและซากพืชซาก

                  สัตว์ที่เป็นอินทรียสาร เป็นแหล่งอาหารที่ส าคัญส าหรับสัตว์หน้าดิน ลักษณะพื้นท้องน ้ามีความส าคัญต่อปริมาณ
                  อินทรียสารในดินคือบริเวณที่เป็นหาดเลนอ่อนนุ่มหรือเป็นบริเวณดินโคลน ดินเหนียวจะมีปริมาณอินทรียสาร

                  มากกว่าบริเวณหาดทรายหรือบริเวณที่เป็นกรวดทราย ทั้งนี้เพราะอนุภาคดินตะกอนขนาดเล็กที่พบตามหาด

                  เลนหาดโคลนจะสามารถดูดซึมและเก็บกักอินทรียสารในดินได้ดีกว่าอนุภาคดินขนาดใหญ่บริเวณหาดทราย
                  ไส้เดือนทะเลส่วนใหญ่ที่พบในดินตะกอนที่มีอินทรียสารสูงมักเป็นกลุ่มที่กินอินทรียสารในดิน ไส้เดือนทะเล

                  เหล่านี้มักอยู่ในรูหรือมีปลอกหุ้ม (tubes) ล าตัวฝังอยู่ในพื้นดินไส้เดือนทะเลเหล่านี้ใช้รยางค์ส่วนหนวดที่ยื่น

                  ยาวออกมากวาดอินทรียสารบนดินเช่นไส้เดือนทะเลในวงศ์ Spionidae ดังภาพที่ 3.4 Fauchald and
                  Jumars (1979) ได้แบ่งลักษณะการกินอาหารของไส้เดือนทะเลกลุ่มที่กินอินทรียสารในดินตะกอนตามขนาด

                  ของอาหารเป็นอาหารขนาดใหญ่ (macrophagous) หรืออาหารที่มีขนาดเล็ก (microphagous) ซึ่งในกลุ่ม

                  หลังนี้สามารถแบ่งออกตามแหล่งที่มาของอาหารว่าเป็นกลุ่มอาหารที่แขวนลอยในมวลน ้า กลุ่มอาหารที่พบผิว
                  ดินตะกอนและกลุ่มอาหารที่พบได้ในชั้นดินตะกอน Dauer et al. (1981) ได้ท าการศึกษาเพิ่มเติมรูปแบบการ

                  กินอาหารของไส้เดือนทะเลวงศ์ Spionidae เขาพบว่าไส้เดือนทะเลกลุ่มนี้สามารถใช้หนวดยาวในการจับ

                  อินทรียสารที่แขวนลอยในน ้าและกินอินทรียสารที่อยู่บนผิวดินตะกอน ตลอดจนสามารถกวนอินทรียสารในชั้น
                  ดินตะกอนให้กลับขึ้นไปอยู่ในมวลน ้าได้
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91