Page 81 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 81

บทที่ 3

                                          การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า



                           จากความรู้เรื่องการจ าแนกประเภทของสัตว์หน้าดินและแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์หน้าดิน เราจะ

                  ทราบว่าสัตว์หน้าดินมีการกระจายอยู่ทั่วไปทั้งในแหล่งน ้าจืด แหล่งน ้ากร่อยและในทะเล ตั้งแต่เขตน ้าขึ้นน ้าลง

                  จนถึงทะเลลึก ความสามารถในการปรับตัวของสัตว์หน้าดินเพื่อครอบครองพื้นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร
                  ตลอดจนแหล่งสืบพันธุ์ของสัตว์เหล่านี้ท าให้เราพบความหลากหลายชนิดและความชุกชุมของสัตว์หน้าดินใน

                  แหล่งน ้าทั่วโลก การปรับตัวที่ส าคัญของสัตว์หน้าดินที่ท าให้สัตว์กลุ่มนี้ด ารงชีพได้ดีบริเวณพื้นท้องน ้าและ

                  พื้นดิน ตลอดจนสามารถสร้างกลุ่มประชากรได้ต่อเนื่อง คือการปรับตัวด้านการกินอาหารและหาอาหาร ซึ่งมี
                  รูปแบบการกินอาหารที่หลากหลาย การปรับตัวด้านการเคลื่อนที่และการเคลื่อนไหวของสัตว์หน้าดินที่เกาะติด

                  อยู่กับที่เป็นสิ่งส าคัญที่เอื้อให้สัตว์หน้าดินสามารถหาอาหารกินได้ และสัตว์หน้าดินสามารถหลบหลีกศัตรูผู้ล่าได้

                  นอกจากนี้การปรับตัวด้านการเคลื่อนที่ยังมีบทบาทส าคัญในการหาคู่และในการผสมพันธุ์ ตลอดจนการ
                  แสวงหาแหล่งอนุบาลตัวอ่อนของมัน

                           การเปลี่ยนแปลงปัจจัยสิ่งแวดล้อมในแหล่งน ้าโดยเฉพาะช่วงเวลาน ้าขึ้นน ้าลงในแหล่งที่อยู่อาศัยที่

                  เป็นแหล่งน ้ากร่อยและในเขตน ้าขึ้นน ้าลงในทะเล ท าให้สัตว์หน้าดินที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวจ าเป็นต้องมี
                  กิจกรรมการกินอาหาร การหายใจ ตลอดจนการสืบพันธุ์ที่สอดคล้องกับช่วงเวลาที่น ้าขึ้นน ้าลงในแต่ละวัน

                  ช่วงเวลาน ้าขึ้นน ้าลงจะก าหนดช่วงเวลาที่หาดหรือพื้นท้องน ้าโผล่พ้นน ้าในเวลาน ้าลง ท าให้สัตว์หน้าดินต้อง

                  ปรับตัวต่อสภาวะอุณหภูมิที่สูงขึ้นและสภาวะการสูญเสียน ้าออกจากตัว นอกจากนี้สัตว์หน้าดินต้องมีการ
                  ปรับตัวด้านการหายใจและการกินอาหารด้วย ในช่วงเวลาน ้าขึ้นก็จะท าให้มีน ้าท่วมบริเวณพื้นท้องน ้า ความเค็ม

                  ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาน ้าขึ้นน ้าลงและตามช่วงฤดูกาล ดังนั้นการปรับตัวต่อสภาวะความเค็มที่

                  เปลี่ยนแปลงจึงเป็นการปรับตัวที่ส าคัญส าหรับสัตว์หน้าดินที่อาศัยอยู่บริเวณน ้ากร่อยและบริเวณเขตน ้าขึ้นน ้า
                  ลง รูปแบบการสืบพันธุ์ตลอดจนวงจรชีวิตของสัตว์หน้าดินก็มีความส าคัญในการกระจายของสัตว์หน้าดิน และ

                  การสร้างกลุ่มประชากรสัตว์หน้าดินอย่างต่อเนื่อง การที่สัตว์หน้าดินจะมีชีวิตอยู่รอดได้ในแหล่งที่อยู่อาศัยคือ

                  ความสามารถในการหลบหลีกผู้ล่าไม่ถูกจับกินเป็นเหยื่อ ดังนั้นการปรับตัวของสัตว์หน้าดินในด้านการป้องกัน
                  ตัวจึงเป็นกลยุทธ์ที่ส าคัญอีกประการหนึ่งเพื่อรักษาจ านวนประชากรของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า

                           ในเรื่องแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์หน้าดินโดยเฉพาะในแหล่งน ้ากร่อย เช่น ปากแม่น ้าและป่าชายเลน

                  ตลอดจนในเขตน ้าขึ้นน ้าลงในทะเล ได้ยกตัวอย่างการปรับตัวของสัตว์หน้าดินบางกลุ่มไปแล้วเพื่อให้เข้าใจ
                  ชัดเจนถึงการปรับตัวของสัตว์หน้าดินต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส าคัญในแหล่งที่อยู่อาศัยนั้น ๆ ดังนั้นในบทนี้จะ

                  เน้นที่กระบวนการที่สัตว์หน้าดินใช้ในการปรับตัวในแหล่งน ้าเป็นหลัก พร้อมทั้งยกตัวอย่างการปรับตัวที่

                  เกี่ยวข้องในกลุ่มสัตว์หน้าดินกลุ่มเด่น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแอนนิลิดหรือกลุ่มไส้เดือนทะเล กลุ่มหอยหรือกลุ่ม
                  มอลลัสก์และกลุ่มครัสตาเซียน ซึ่งจะพยายามเลือกมาเพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้น ในบางกรณีอาจยกตัวอย่างการ

                  ปรับตัวที่เกี่ยวข้องในสัตว์หน้าดินกลุ่มอื่นที่น่าสนใจหรือมีลักษณะเฉพาะที่ควรรู้
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86