Page 82 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 82

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    64



                  3.1 การปรับตัวด้านการกินอาหารของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า (feeding adaptations)

                           การที่มีปริมาณอาหารที่สมบูรณ์ทั้งอาหารหลากหลายชนิดและปริมาณอาหารที่มากในแหล่งน ้าที่อยู่
                  อาศัยของสัตว์หน้าดินทั้งที่เป็นอาหารในมวลน ้า เช่น แพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์ ตลอดจนอาหาร

                  บริเวณพื้นดินและในดินเช่นพืชสีเขียวทั้งที่เป็นสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็ก สาหร่ายขนาดใหญ่ หญ้าทะเล พันธุ์

                  ไม้ในป่าชายเลย รวมทั้งกิ่งไม้ร่วงหล่นด้วย สัตว์หน้าดินขนาดเล็กและปริมาณอินทรียสารที่สะสมอยู่ในดิน
                  ตะกอน เป็นต้น ท าให้สัตว์หน้าดินมีการปรับตัวด้านการกินอาหารเพื่อให้เข้าถึงแหล่งอาหารที่หลากหลาย

                  เหล่านี้ และเพื่อไม่ให้เกิดการแก่งแย่งอาหารกินในกลุ่มสัตว์หน้าดินชนิดเดียวกันและที่ต่างชนิดกัน  การปรับตัว

                  ด้านการกินอาหารและหาอาหารในสัตว์หน้าดินเป็นการแบ่งสรรทรัพยากรอาหารในแหล่งที่อยู่อาศัยได้ลงตัว
                  จากรูปแบบการหาอาหารและการกินอาหารของสัตว์หน้าดินเหล่านี้ท าให้เราพบสัตว์หน้าดินมีบทบาทในการ

                  ถ่ายทอดพลังงานหรือบทบาทในสายใยอาหารได้ทุกระดับจนถึงขั้นผู้บริโภคสูงสุด นับตั้งแต่พวกโปรโตซัว

                  (protozoa) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจ าพวกยูคาริโอติค (eukaryotic) คือเซลล์ที่นิวเคลียส (nucleaus) มีเยื่อ
                  หุ้มและมีเยื่อหุ้มออร์กาเนลล์ (organelle) ต่าง ๆ โปรโตซัวเป็นสัตว์หน้าดินที่เล็กที่สุด เซลล์ของพวกโปรโตซัว

                  มีโครงสร้างซับซ้อนที่สามารถท าหน้าที่ได้สมบูรณ์แบบเช่นการเคลื่อนที่เป็นต้น เราพบโปรโตซัวอาศัยอยู่ได้ใน

                  แหล่งน ้าจืดและทะเล การกินอาหารของพวกโปรโตซัวมีหลายแบบตั้งแต่กลุ่มที่สังเคราะห์อาหารเอง
                  (autotrophic) กลุ่มที่กินอนุภาคจากสารละลายตัวกลาง (saprozoic) กลุ่มโปรโตซัวที่กินโดยจับพืชหรือสัตว์

                  อื่น (holozoic) และกลุ่มโปรโตซัวที่กินอนุภาคจากสารละลายหรือสังเคราะห์อาหารได้เอง (mixotrophic or

                  mesotrophic) (นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร, 2551)


                        3.1.1 กลุ่มสัตว์หน้าดินที่กินพืชสีเขียว (herbivores)

                           แหล่งอาหารที่ส าคัญส าหรับสัตว์หน้าดินกลุ่มนี้คือแพลงก์ตอนพืช สาหร่ายหน้าดินขนาเล็กที่อยู่ในดิน
                  สาหร่ายหน้าดินขนาดใหญ่ที่ขึ้นตามต้นไม้ รากไม้ ตลอดจนที่ขึ้นตามโขดหินในบริเวณหาดหิน หญ้าทะเล พันธุ์

                  ไม้ป่าชายเลน กลุ่มสัตว์หน้าดินที่กินพืชสีเขียว (ภาพที่ 3.1) ได้แก่สัตว์หน้าดินขนาดเล็กกลุ่มฟอแรมมินิเฟอร่า

                  และฮาร์แพคติคอยด์โคพิพอด (harpacticoid copepods) ที่กินไดอะตอมและสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็กอื่น ๆ
                  สัตว์หน้าดินที่กินพืชสีเขียวเป็นกลุ่มเด่นคือสัตว์ทะเลที่อยู่บริเวณหาดหินได้แก่พวกหอยแปดเกล็ด (chitons)

                  หอยหมวกเจ๊ก (limpets) และหอยขี้นก (Littoraria spp.) นอกจากกลุ่มหอยหรือมอลลัสก์แล้วก็ยังมีกลุ่มหอย

                  เม่น (sea urchins) ที่เป็นเอคไคโนเดิร์ม กลุ่มสัตว์เหล่านี้จะมีส่วนฟัน (radula) ที่แหลมคมใช้ครูดกินพวกได
                  อะตอมที่เกาะติดตามพื้นหิน สาหร่ายขนาดเล็กหรือเศษสาหร่ายที่คลื่นซัดขึ้นมาติดบนก้อนหิน รวมถึงสาหร่าย

                  ขนาดใหญ่หลากหลายชนิดทั้งสาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีน ้าตาล และสาหร่ายสีแดง เป็นต้น บริเวณตอนบนสุด

                  ของหาดหินจะพวกหอยหมวกเจ๊กและหอยขี้นกครูดกินแผ่นสีน ้าตาลของไดอะตอมที่จับตัวกันแน่นบนพื้นหิน
                  ส่วนหอยเม่นจะฝังตัวอยู่ระหว่างซอกหินที่แยกหรือในบริเวณพื้นหินที่สึกกร่อนเพื่อป้องกันตัวมันเองไม่ให้คลื่น

                  ซัดหายไป ส่วนฟันของหอยหมวกเจ๊ก หอยฝาเดียวและหอยแปดเกล็ดนั้นจะประกอบด้วยฟันซี่เล็กเรียงแถวกัน

                  ซึ่งยึดต่อด้วยเนื้อเยื่อ หอยเหล่านี้สามารถยื่นส่วนฟันแถวออกนอกปากเพื่อครูดอาหารจากพื้นโดยการครูดไปมา
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87