Page 84 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 84

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    66



                        3.1.2 กลุ่มสัตว์หน้าดินที่กรองกินอาหารจากมวลน ้า (filter feeders/ suspension feeders)

                           อาหารของสัตว์หน้าดินที่กรองกินอาหารจากมวลน ้าที่ส าคัญคือ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์
                  และปริมาณอินทรียสารที่แขวนลอยอยู่ในน ้า ฟองน ้าจัดเป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการต ่าที่สุดเป็นพวกที่ไม่

                  มีเนื้อเยื่อที่แท้จริงและไม่มีอวัยวะ เซลล์ในเนื้อเยือท างานเป็นอิสระกัน ฟองน ้าส่วนใหญ่พบในทะเลเป็นสัตว์

                  เกาะติดอยู่กับที่ (sessile) รูปร่างของฟองน ้าบางชนิดมีสมมาตรแบบรัศมี แต่ส่วนใหญ่มักมีรูปร่างแบบไม่มี
                  สมมาตร โดยมีลักษณะเป็นก้อนหรือแผ่ปกคลุมก้อนหินหรือวัตถุใต้น ้า มีฟองน ้าส่วนน้อยที่พบในแหล่งน ้าจืด

                  กิจกรรมชีวิตของฟองน ้าทั้งการกินอาหาร การหายใจและการขับถ่ายของเสีย และการสืบพันธุ์จะอาศัยระบบ

                  ไหลเวียนของน ้า โดยที่ฟองน ้ามีรูพรุน (ostia) เล็ก ๆ ทั้งตัวเป็นช่องทางน ้าข้าวของน ้าสู่ล าตัว แล้วกระแสน ้าที่
                  ผ่านเข้าตัวนี้จะผ่านช่องว่างในล าตัวฟองน ้า (spongocoel) และผ่านออกทางช่องน ้าออก (osculum) เปิดออก

                  สู่ภายนอก โครงสร้างค ้าจุนของฟองน ้าประกอบด้วยหนามหรือสปิคูล (spicule) และส่วนเส้นใยโปรตีน

                  (spongin fiber) ที่มีลักษณะสานกันเป็นตาข่ายท าให้ตัวของฟองน ้าคงรูปอยู่ได้ ดังภาพที่ 3.2 เป็นโครงสร้าง
                  ของฟองน ้าแบบ Asconoid type ซึ่งเป็นโครงสร้างแบบง่ายสุด มีเซลล์ porocytes (1) ที่มีช่องทางน ้าเข้าตัว

                  เรียกว่า ostia (2) เซลล์ choanocyte (3) เป็นเซลล์ที่มีหนวดและฐานคอ (collar) ล้อมรอบหนวดของเซลล์

                  choanocytes จะพัดโบกท าให้เกิดกระแสน ้าน าอาหารและออกซิเจน ส่วนบานคอจะท าหน้าที่ในการดักกรอง
                  และจับอาหาร ส่วนเซลล์ amoebocyte (4) ท าหน้าที่ย่อยอาหารและสร้างหนามสปิคูล spicule (5) และเส้น

                  ใยโปรตีน น ้าเมื่อเข้าสู่รางกายของน ้าทางรูพรุนทั่วตัวจะเข้าสู่ช่องว่างล าตัว spongocoel (6) ซึ่งจะมีการ

                  แลกเปลี่ยนออกซิเจนและกรองอาหารจากน ้า น ้าที่ผ่านการกรองอาหารแล้วจะถูกขับออกภายนอกทางช่อง
                  ออกของน ้า osculum (7)
































                  ภาพที่ 3.2  โครงสร้างของฟองน ้าแบบ Asconoid type

                             ที่มา : Ruppert and Barnes (1994)
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89