Page 87 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 87

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    69


























                  ภาพที่ 3.4   ลักษณะการกินอาหารของไส้เดือนทะเลวงศ์ Spionidae โดยการใช้หนวดคู่ยาวในการเลือก

                             อินทรียสารตามผิวดินตะกอนและแขวนลอยในมวลน ้า
                             ที่มา : Dauer et al. (1981)



                           สัตว์หน้าดินที่กินอินทรียสารในดินโดยมีการคัดเลือดขนาดอนุภาคดินตะกอนที่เหมาะสมกับขนาด
                  ปากเป็น deposit feeder จัดเป็นพวกที่เลือกกินอาหารเฉพาะอย่างเรียกว่า selective feeders การเลือกกิน

                  อาหารเฉพาะอย่างอาจเลือกขนาดของอาหารและชนิดตลอดจนคุณค่าของอาหารด้วย ดังนั้นในรูปแบบการกิน

                  อาหารของหอยสองฝาที่กรองกินอาหารจากมวลน ้าก็จัดว่าเป็นพวกที่เลือกกินอาหารเฉพาะอย่าง (selective
                  feeders) เช่นกัน เพราะซี่กรองเหงือกจะคัดเลือกเฉพาะขนาดอาหารและชนิดของอาหารที่เหมาะสม สัตว์หน้า

                  ดินอีกกลุ่มหนึ่งจะกินอาหารโดยไม่เลือกขนาดและชนิดของอาหารเรียกว่า opportunistic feeders สัตว์หน้า

                  ดินกลุ่มนี้จะกินอาหารไม่เลือก เจออาหารชนิดใดก็กินไว้ก่อนดังเช่นกลุ่มสัตว์หน้าดินที่กรองอาหารจากมวลน ้า
                  และปล่อยเมือกออกมาเพื่อรวบรวมตะกอนแขวนลอยให้ได้มากที่สุดเป็น suspension feeders ในสัตว์หน้าดิน

                  ที่กินปริมาณอินทรียสารในดินก็มีบางกลุ่มไม่เลือกขนาดดินตะกอนหรือเลือกกินเฉพาะอินทรียสารที่ติดกับ

                  อนุภาคดินตะกอน แต่กินปริมาณอินทรียสารโดยรวมที่เป็นซากอินทรียสารที่อยู่ตามพื้นดินด้วย สัตว์กลุ่มนี้
                  จัดเป็น detritus feeders และจัดเป็นพวกที่กินอาหารไม่เลือกชนิดถือเป็น opportunistic feeders ดังนั้น

                  การศึกษาลักษณะพฤติกรรมการกินอาหารอย่างละเอียดของสัตว์หน้าดินจะสามารถท าให้เข้าใจถึงการกระจาย

                  ตามแหล่งอาหารหรือการที่สัตว์เหล่านี้อยู่ร่วมกันได้ เนื่องจากกินอาหารที่ต่างกันเป็นการจัดสรรทรัพยากร
                  อาหารอย่างลงตัวเพื่อไม่ให้เกิดการแก่งแย่งกัน

                           ปูก้ามดาบในป่าชายเลนเป็นตัวอย่างของสัตว์หน้าดินที่มีการจัดสรรอาหารได้อย่างลงตัว อาหารของ

                  ปูก้ามดาบคือปริมาณอินทรียสารในดินตะกอน ปูก้ามดาบแต่ละชนิดจะมีอวัยวะส่วนปากที่ใช้คัดเลือกขนาด
                  อนุภาคดินตะกอนที่มีอินทรียสารติดอยู่ที่เหมาะสม ท าให้มีรูปร่างของอวัยวะส่วนปากที่ใช้คัดเลือกขนาด

                  อนุภาคดินตะกอนเหล่านี้มีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิด บริเวณส่วยปลายขาเดินจะมีลักษณะคล้ายช้อนเพื่อ

                  ตักดินตะกอนส่งเข้าปาก รยางค์ส่วนอก maxillipeds อีกสองคู่จะท าหน้าที่ในการคัดเลือกและคัดกรองขนาด
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92