Page 91 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 91

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    73



                  3.2 การปรับตัวด้านการเคลื่อนที่และการเคลื่อนไหวของสัตว์หน้าดิน (mobility/ locomotion

                     adaptations)
                           การปรับตัวด้านการเคลื่อนที่และการเคลื่อนไหวของสัตว์หน้าดินมีบทบาทส าคัญ 3 ประการ คือ ท า

                  ให้สัตว์หน้าดินสามารถเคลื่อนที่ไปหาแหล่งอาหารได้หรือสามารถไล่ล่าเหยื่อได้ ดังเช่นในกลุ่มปูทะเลและ

                  ไส้เดือนทะเลที่ด ารงชีพเป็นผู้ล่า การปรับตัวด้านการเคลื่อนที่และการเคลื่อนไหวของสัตว์หน้าดินยังช่วยให้
                  สามารถหลบรอดได้จากศัตรูหรือรอดจากการถูกจับกินเป็นอาหาร บทบาทที่ส าคัญประการที่ 3 ของการ

                  ปรับตัวด้านการเคลื่อนที่ของสัตว์หน้าดินคือการหาคู่และในการผสมพันธุ์ ตลอดจนการแสวงหาแหล่งอนุบาล

                  ตัวอ่อน ในสัตว์หน้าดินที่เกาะติดอยู่กับที่มีการเคลื่อนไหวโดยการยืดส่วนรยางค์ที่ใช้ในการกินอาหารหรือ
                  หายใจออกมา เช่นการยื่นส่วนหนวดของดอกไม้ทะเล ปะการังหรือไส้เดือนทะเลที่อยู่ในรูหรือฝังตัวอยู่ในดิน

                  หรือในดอกไม้ทะเลเวลาที่มีศัตรูจู่โจมจะดึงส่วนหนวดเข้าตัวพร้อมทั้งหดตัวด้วย ซึ่งอาศัยการท างานของ

                  กล้ามเนื้อของสัตว์กลุ่มนี้


                       3.2.1 การเคลื่อนที่บนพื้นดินที่แข็ง (hard substrate)

                           สัตว์หน้าดินที่อาศัยอยู่บริเวณหาดหิน เช่น หอยแปดเกล็ด หอยหมวกเจ๊ก หอยขี้นก ปูหินและดาว
                  ทะเล ต้องมีการเคลื่อนที่ไปตามซอกหินเพื่อหาอาหารหรือเข้าไปหากินในแหล่งอาหาร ในกลุ่มหอยแปดเกล็ด

                  และหอยหมวกเจ๊กจะเคลื่อนที่ไปตอนบนของโขดหินที่มีสาหร่ายทะเลขึ้นอยู่หนาแน่น หอยขี้นกก็จะเคลื่อนที่ไป

                  ตามโขดหินเพื่อกินไดอะตอมหรือสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็กที่เกาะอยู่เป็นแห่ง ๆ บนโขดหิน การเคลื่อนที่เพื่อ
                  หาอาหารของสัตว์กลุ่มนี้จะเคลื่อนที่ตามช่วงเวลาเคลื่อนที่ตามช่วงเวลาน ้าขึ้นน ้าลง ในช่วงเวลาน ้าลงสัตว์

                  เหล่านี้จะเคลื่อนที่ไปหาแหล่งอาหารแล้วใช้เวลากินอาหารอยู่ระยะหนึ่งแล้วเคลื่อนที่กลับมายังเขตหรือบริเวณ

                  ที่อาศัยอยู่ เป็นพฤติกรรมที่เราเรียกว่า homing behavior หอยหมวกเจ๊กและหอยแปดเกล็ดจะมีส่วนเท้าที่แผ่
                  ขยายออกกว้างเพื่อใช้คืบคลานไปบนพื้นหินที่แข็ง ดังภาพที่ 3.7 ในขณะที่เคลื่อนที่จากแหล่งที่เกาะอาศัยอยู่

                  หอยเหล่านี้จะทิ้งร่องรอยไว้เป็นสารเหนียวหรือเมือกไปจนถึงบริเวณที่สาหร่ายทะเลขึ้นอยู่หนาแน่นเสมือน

                  เส้นทางหากินและให้ใช้ส าหรับน าทางกลับบ้านอีกครั้งหนึ่งเมื่อยามน ้าขึ้น ในขณะที่เคลื่อนที่เพื่อหาอาหารเป็น
                  ยามที่น ้าลงหอยหมวกเจ๊กและหอยแปดเกล็ดจะต้องเผชิญกับสภาวะอุณหภูมิสูงและการสูญเสียน ้าออกจากตัว

                  แต่หอยหมวกเจ๊กและหอยแปดเกล็ดก็มีเปลือกหุ้มตัวที่หนามากช่วยป้องกันตัวเองจากปัญหานี้ เมื่อเคลื่อนที่เข้า

                  ไปในแหล่งสาหร่ายแล้ว หอยจะใช้เท้าที่หนาและกว้างยึดตัวเองให้แน่นเพื่อกินอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยไม่
                  ต้องกังวลว่าจะถูกคลื่นซัดหายไป สารเหนียวที่หอยหมวกเจ๊กและหอยแปดเกล็ดปล่อยออกมาในขณะเคลื่อนที่

                  หาแหล่งอาหารนอกจากจะเป็นร่องรอยลายแทงบอกทางกลับบ้านแล้ว ยังช่วยในการหล่อลื่นเวลาที่เท้าสัมผัส

                  กับพื้นแข็งเพื่อเคลื่อนที่ด้วย
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96