Page 94 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 94

การปรับตัวของสัตว์หน้าดินในแหล่งน ้า                                                    76



                  ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อแข็งแรงยื่นออกมาเพื่อคืบคลานแล้วยังว่ายน ้าได้โดยการปิดเปิดฝาสลับกันด้วย การฝังตัวหรือ

                  ขุดรูในดินของสัตว์หน้าดินในดินเลนที่อ่อนนุ่มหรือหาดทรายนั้นอาศัยหลักการในการที่มีโครงสร้างที่แข็งแรงกด
                  ลงในพื้นดินด้วยแรงที่พอเหมาะเพื่อแทนที่อนุภาคดินบริเวณนั้น ซึ่งในการขุดและฝังตัวในดินของสัตว์หน้าดิน

                  กลุ่มหอย ไส้เดือนทะเล หนอนถั่วและปลิงทะเลที่ฝังตัวจะใช้หลักการเดียวกัน สัตว์กลุ่มนี้จะมีโครงสร้างที่

                  ควบคุมด้วยปริมาณน ้าเป็น hydrostatic skeleton เปรียบเสมือนเป็นท่อที่ยืดหยุ่นได้และสามารถท าให้แข็งตัว
                  ตั้งได้เมื่อมีน ้าหรือของเหลวไหลเข้าไปในท่อ ดังภาพที่ 3.9






















                  ภาพที่ 3.9  ลักษณะการฝังตัวและขุดรูของสัตว์หน้าดินที่ใช้หลักการ hydrostatic skeleton

                             (ก) การฝังตัวของสัตว์หน้าดินที่มีล าตัวอ่อนนุ่ม เช่น ไส้เดือนทะเล และหนอนถั่ว
                             (ข) การฝังตัวของหอยสองฝา

                             ที่มา :  Levinton (1995)


                           เมื่อสัตว์หน้าดินเช่นไส้เดือนทะเลและหนอนถั่วฝังตัวในดิน โดยการแทรกตัวลงดินท าให้มีแรงดันใน

                  ตัวท าให้ขยายตัวเปรียบเสมือนสมอเรือเพื่อยึดตัวกับต าแหน่งในดินที่ฝังตัว การขยายตัวเป็นสมอเรือยึดนี้

                  เรียกว่า penetration anchor (PA) ในขณะที่ส่วนท้ายล าตัวจะมีการขยายตัวเนื่องจากแรงดันน ้าเป็นส่วนที่ยึด
                  ตัวลึกลงไปในดินเป็น terminal anchor (TA) ในขณะเดียวกันจะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อในทิศทางที่ลึกลงใน

                  ดินท าให้ดึงตัวของหนอนถั่วหรือไส้เดือนทะเลลึกลงไปในดิน สัตว์หน้าดินจะฝังตัวได้ลึกลงดินโดยอาศัยการ

                  ท างานร่วมกันของโครงสร้างที่ควบคุมโดยแรงดันน ้าสลับกับการหดตัวของกล้ามเนื้อ ในการฝังตัวของหอยสอง
                  ฝาก็ท าได้ด้วยการท างานของโครงสร้างที่ควบคุมด้วยแรงดันน ้าร่วมกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ เมื่อหอยสอง

                  ฝาแทรกฝังตัวบริเวณผิวดินจะแทรกตัวลงพร้อมเปลือกที่เปิดอยู่เป็นเสมือนสมอเรือที่ยึดตัวให้มั่นคงอยู่กับที่

                  เมื่อฝาหอยปิดลงจะมีแรงดันน ้าไปอยู่ในส่วนปลายสุดของเท้าเพื่อเป็นสมอส าหรับเจาะลึกลงต่อไปในดินเป็น
                  terminal anchor ด้วยน ้าหนักตัวของหอยสองฝาประกอบกับการเปิดปิดฝาท าให้มีการท างานสลับกันของ

                  กล้ามเนื้อที่มีการหดตัวและยืดตัวช่วยดึงตัวหอยให้ลึกลงไปได้ในดิน ดังนั้นถ้าเราขุดหอยเสียบบนหาดทรายหรือ

                  หอยหลอดในหาดเลนขึ้นมาจากดินและปล่อยวางไว้บนผิวดิน หอยจะพยายามตั้งตัวเองโดยให้ส่วนยอดที่
                  เปลือกประกบกันอยู่ส่วนบนท าให้ตัวตั้งตรงตั้งฉากกับพื้นดินแล้วฝังตัวเองลงในดินได้อย่างรวดเร็วตามหลักการ
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99