Page 157 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 157

การใช้ประโยชน์จากสัตว์หน้าดิน                                                          139



                           ความส าเร็จในการเพาะหนอนแดงขึ้นอยู่กับหลักการ 3 ประการ คือ 1) การมีอาหารอุดมสมบูรณ์

                  โดยมีซากอินทรียสารที่เน่าเปื่อยให้เป็นอาหารหนอนแดง รวมทั้งเป็นวัสดุส าหรับสร้างรังหรือปลอกหุ้มตัว 2)
                  บ่อเพาะหนอนแดงต้องอยู่ในที่ลมสงบโดยการสร้างแผงก าบังลมไว้ด้วย ทั้งนี้เพราะแมลงริ้นน ้าจืดรอบวางไข่ใน

                  บริเวณที่น ้านิ่งลมสงบ ในบ่อเพาะหนอนแดงต้องมีซากอินทรียสารที่เน่าเปื่อยเพื่อส่งกลิ่นชักจูงให้แมลงน ้าจืดมา

                  ผสมพันธุ์และวางไข่ 3) บ่อเพาะหนอนแดงจ าเป็นต้องมีการป้องกันศัตรูของหนอนแดง ได้แก่ ตัวอ่อนแมลงปอ
                  ลูกกบ ลูกเขียดและลูกปลา เป็นต้น หนอนแดงที่ขายเป็นอาหารสัตว์น ้าวัยอ่อนมีราคาสูงถึงกิโลกรัม 20 บาท

                  ซึ่งถ้าเพาะได้ส าเร็จเป็นปริมาณมากสามารถยึดเป็นอาชีพได้ (ส ารวย เสร็จกิจ, 2533)

                           (ข) การเพาะหนอนแดงในบ่อซีเมนต์สรุปได้ 5 ขั้นตอน (เสน่ห์ ผลประสิทธิ์, 2550) ดังต่อไปนี้
                           - การเตรียมบ่อ

                           บ่อซีเมนต์ที่เตรียมส าหรับเพาะหนอนแดงต้องมีการล้างท าความสะอาดและตากบ่อให้แห้งอีก 1-2

                  วัน พร้อมกับต้องมีการสร้างแผงบังลมไว้ด้วย
                           - การเตรียมน ้า

                           น ้าที่ใช้เลี้ยงควรเป็นน ้าที่สูบจากคลอง หนองบึงหรือบ่อที่อยู่ใกล้เคียง ก่อนจะสูบน ้าใส่บ่อซีเมนต์ต้อง

                  ท าการกรองน ้าด้วยผ้ากรองแพลงก์ตอนก่อนที่จะเทลงบ่อซีเมนต์เป็นการก าจัดศัตรูและคู่แข่งหนอนแดง
                  ตรวจดูคุณภาพน ้าให้เหมาะสม

                           -  การเตรียมอาหาร

                           การเตรียมอาหารในบ่อที่เพาะหนอนแดงมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อสร้างกลิ่นล่อให้แมลงน ้า
                  จืดมาวางไข่ ประการที่สองเป็นการเตรียมอาหารไว้เลี้ยงหนอนแดงและเพื่อจัดหาวัตถุส าหรับสร้างรัง หรือ

                  ปลอกไว้ให้หนอนแดง อาหารที่ใช้เลี้ยงหนอนแดงมักเป็นพวกกากถั่ว ปลาป่นและร าละเอียดผสมในอัตราส่วน

                  1:1:1 หรือใช้กากถัวเหลืองผสมกับอาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงปลาหรืออาหารไก่อาหารหมูอย่างใดอย่างหนึ่งใน
                  ปริมาณเท่ากัน น าอาหารที่ผสมนี้ใส่ลงในบ่อเพื่อท าการหมัก 2-3 วันแล้วจึงเติมน ้าลงในบ่อ

                           - การเก็บเกี่ยวผลผลิต

                           เมื่อเริ่มท าการเพาะหนอนแดงในบ่อซีเมนต์แล้ว ภายในวันที่ 7 ก็สามารถเก็บเกี่ยวหนอนแดงได้ การ
                  เก็บเกี่ยวหนอนแดงท าได้โดยการช้อนด้วยสวิงในช่วงเวลา 11.00–15.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หนอนแดงออก

                  จากปลอกและลอยตัวขึ้นผิวน ้าท าให้สามารถช้อนได้ง่ายขึ้น เราสามารถเก็บเกี่ยวหนอนแดงได้วันละ 1 ครั้ง

                  ต่อเนื่องไปเป็นเวลา 20 – 30 วัน หลังจากเวลา 20 – 30 วัน ผลผลิตหนอนแดงมักลดลงเนื่องจากมีแมลงอื่นมา
                  รบกวน ดังนั้นจึงควรล้างบ่อและเตรียมการเพาะหนอนแดงใหม่ต่อไป

                           - การเพิ่มอาหารให้หนอนแดงในระหว่างการผลิต

                           ผลผลิตของหนอนแดงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพและปริมาณอาหารที่เพียงพอ ดังนั้นจึงควรมี
                  การเติมอาหารลงในบ่อทุก ๆ 3-7 วันนอกจากนี้ต้องมีการตรวจคุณภาพน ้าในบ่ออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

                  เพื่อรักษาคุณภาพน ้าในบ่อให้เหมาะสมต่อเนื่อง
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162