Page 155 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 155

การใช้ประโยชน์จากสัตว์หน้าดิน                                                          137





                  5.5 การใช้ประโยชน์สัตว์หน้าดินในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้า
                           สิ่งที่ท้าทายในการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าไม่ว่าจะเป็นกุ้งทะเล ปูและปลาทั้งที่เป็นปลาที่ส าคัญทาง

                  เศรษฐกิจและปลาสวยงามคือความพยายามในการรักษาประชากรพ่อแม่พันธุ์  ความส าเร็จในการผสมเทียม

                  และความส าเร็จในการเลี้ยงลูกปลาและปลาวัยรุ่น ดังนั้นจึงมีความพยายามที่จะผลิตอาหารส าหรับสัตว์น ้า
                  เศรษฐกิจเหล่านี้เพื่อทดแทนอาหารจากธรรมชาติ และในขณะเดียวกันต้องการให้ต้นทุนอาหารต ่าลง ดังนั้นจึง

                  มีความพยายามในการใช้สัตว์หน้าดินในการเป็นอาหารสัตว์น ้า โดยการเพาะเลี้ยงสัตว์หน้าดินเพื่อเป็นอาหาร

                  สัตว์น ้าวัยอ่อนและการเพิ่มปริมาณสัตว์หน้าดินในบ่อเลี้ยงปลาเพื่อเป็นอาหารสัตว์น ้า สัตว์หน้าดินหลายชนิดมี
                  ความส าคัญในการเป็นอาหารของมนุษย์จึงเป็นทรัพยากรประมงหรือสัตว์น ้าเศรษฐกิจที่ส าคัญ ดังนั้นจึงมีการ

                  เพาะเลี้ยงสัตว์หน้าดินที่เป็นทรัพยากรประมงเพื่อทดแทนผลผลิตประมงที่ลดลงตามธรรมชาติ


                        5.5.1 การใช้สัตว์หน้าดินในการเป็นอาหารสัตว์น ้า

                           5.5.1.1 การเพาะเลี้ยงสัตว์หน้าดินเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์น ้าวัยอ่อน

                           ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าอาหารนับเป็นปัจจัยที่มีความส าคัญประการแรกต่อการก าหนดความส าเร็จ
                  ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้า เนื่องจากมีผลต่อการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์และอัตราการรอดตายของสัตว์น ้า และ

                  เป็นต้นทุนผันแปรที่ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์น ้ามีทั้งอาหารมีชีวิตและอาหารส าเร็จรูป

                  โดยเฉพาะอาหารมีชีวิตมีความส าคัญเป็นอย่างมากต่อการอนุบาลลูกสัตว์น ้าวัยอ่อน สัตว์หน้าดินที่มีการ
                  เพาะเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหารของลูกสัตว์น ้าในวัยอ่อน เช่น หนอนแดง ลูกน ้ายุง โคพีพอด แอมฟิพอดและ

                  ไส้เดือนน ้า เป็นต้น การใช้อาหารมีชีวิตเป็นอาหารเลี้ยงลูกสัตว์น ้าวัยอ่อนมีผลให้อัตราการเจริญเติบโตดี และมี

                  อัตราการรอดตายสูง การใช้เลี้ยงพวกปลาสวยงามจะท าให้มีสีสันสวยงามเพิ่มขึ้น


                           (1)  การเพาะเลี้ยงหนอนแดงเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์น ้าวัยอ่อน

                           หนอนแดง (Chironomid lavae หรือ blood worm) เป็นตัวอ่อนของแมลงพวกริ้นน ้าจืด (Midge)
                  ในอันดับ (Order) Diptera วงศ์ (Family) Chironomidae มีบทบาทส าคัญต่อธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าอย่าง

                  มาก โดยเฉพาะปลาตู้ ปลาสวยงามและการอนุบาลลูกปลา เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูงดังตารางที่ 5.2

                  ช่วยให้อัตราการรอดตายและอัตราการเจริญเติบโตของสัตว์น ้าสูงขึ้น รวมทั้งยังใช้เป็นอาหารกุ้งกุลาด าที่มี
                  คุณภาพและช่วยลดต้นทุนการผลิต หนอนแดงจัดอยู่ในอันดับเดียวกับพวกยุงและแมลงวัน รูปร่างของพวกริ้น

                  น ้าจืดจะคล้ายกันกับยุง แต่ริ้นน ้าจืดเป็นพวกที่ไม่กินเลือดแต่จะกินน ้าหวานและเกสรดอกไม้ พวกตัวเมียของริ้น

                  น ้าจืดมักชอบวางไข่ในแหล่งน ้าที่มีลมสงบ โดยวางไข่ลอยเป็นแพที่บนผิวน ้า ลักษณะของแพไข่จะมีลักษณะเป็น
                  เส้นหรือแท่งมีวุ้นหุ้มมีจุดประสีด า มองเห็นด้วยตาเปล่า ไข่จะฟักเป็นตัวหนอนภายในเวลา 3-4 วัน หนอนแดง

                  ล าตัวยาว 3-18 มิลลิเมตร มีตัวสีแดงเพราะว่ามีสารฮีโมโกลบินอยู่ในเลือด
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160