Page 151 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 151

การใช้ประโยชน์จากสัตว์หน้าดิน                                                          133



                           การฝังกลบขยะสดในป่าชายเลนเสื่อมโทรมเป็นแนวคิดหนึ่งที่หวังจะช่วยในการฟื้นฟูป่าชายเลนเสื่อม

                  โทรม จึงต้องมีการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเหมาะสมก่อนการตัดสินใจน าขยะสดไปฝังกลบใน
                  ป่าชายเลนในอนาคต จึงมีการศึกษาผลกระทบระยะสั้นของการฝังกลบขยะสดต่อสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ในป่า

                  ชายเลนในโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชด าริ จังหวัดเพชรบุรี

                  พบว่าการฝังกลบขยะสดในป่าชายเลนท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและลักษณะทางเคมีของ
                  ดินตะกอนในป่าชายเลน เช่น เกิดน ้าขังในหลุมขยะ มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อดินและมีการเพิ่มปริมารซัลไฟด์ใน

                  ดิน ท าให้มีการเพิ่มประชากรของหอยขี้กาซึ่งเป็นหอยฝาเดียวชนิด Cerithidea cingulata ในบริเวณที่มีหลุม

                  ขยะสด ทั้งนี้เพราะหอยชนิดนี้เป็นกลุ่มที่กินอาหารได้ทั่วไป มีการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วโดยแม่หอยแต่ละตัวมี
                  ปริมาณไข่มากถึง 4,000 ฟอง หลังจากไข่ฟักเป็นตัวอ่อนแล้วใช้เวลา 30-60 วัน ก่อนเข้าสู่ระยะเจริญพันธุ์อีก

                  (กมลวรรณ พุ่มไม้ และคณะ, 2550)

                  5.4 การใช้สัตว์หน้าดินในการบ าบัดทางชีวภาพเพื่อลดผลกระทบจากมลภาวะในแหล่งน ้า
                           ปัญหาการเพิ่มอินทรียสารในแหล่งน ้าเป็นปัญหาใหญ่ทั้งในบริเวณแม่น ้าดังตัวอย่างงานวิจัยในแม่น ้า

                  ปาสักและแม่น ้าน้อย การเสื่อมสภาพของระบบนิเวศชายฝั่งและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน ้าและคุณภาพดิน

                  ตะกอนบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเลศรีราชาที่พบปรากฏการณ์น ้าทะเล
                  เปลี่ยนสีหรือน ้าขี้ปลาวาฬเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นับเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงสภาพปริมาณอินทรยีสารสูงใน

                  บริเวณนี้ นอกจากนี้คุณภาพดินตะกอนชายฝั่งเสื่อมโทรมลงมีการสะสมปริมาณอินทรยีสารสูงในดินท าให้เกิด

                  การเน่าเสีย เช่น บริเวณแนวแพเลี้ยงหอยแมลงภู่ตลอดแนวชายฝั่งศรีราชาและบริเวณเกาะลอย การขยายตัว
                  ของเมืองตลอดจนการขยายตัวของการเลี้ยงหอยแมลงภู่และการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง เป็นสาเหตุส าคัญที่ท าให้มี

                  การสะสมของดินตะกอนอินทรียสารสูงในบริเวณนี้ การบ าบัดทางชีวภาพ (bioremediation) เป็นแนวทาง

                  หนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศเพื่อลดปัญหาผลกระทบจากมลภาวะทางทะเล โดยเฉพาะการเพิ่ม
                  ปริมาณอินทรียสารสูงในมวลน ้าและในดินตะกอน การบ าบัดทางชีวภาพเป็นการลดปัญหามลภาวะใน

                  สภาพแวดล้อมโดยการใช้สิ่งมีชีวิตในการก าจัดหรือลดความเป็นพิษของสารพิษ การบ าบัดทางชีวภาพไม่ท าให้

                  เกิดสารพิษตกค้างสะสมในธรรมชาติ ต่างจากการใช้สารเคมีต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหามลภาวะทางทะเล นอกจากนี้
                  การบ าบัดทางชีวภาพมักมีผลพลอยได้ให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการบ าบัดทางชีวภาพไม่

                  ว่าจะเป็นจุลชีพ (microbes) สาหร่ายทะเล ไส้เดือนทะเล และหอยสองฝา เช่น หอยนางรมและหอยแมลงภู่

                  เป็นต้น
                           นอกเหนือจากจุลชีพแล้วยังมีการใช้สาหร่ายหลายชนิดและสัตว์ต่าง ๆ เช่น หอยนางรม หอยแมลงภู่

                  หอยสองฝาหลายชนิด ปลา ไส้เดือนทะเลและฟองน ้า เป็นต้น ซึ่งตามธรรมชาติสัตว์เหล่านี้มีศักยภาพในการ

                  เก็บกักหรือกรองสารมลพิษที่อยู่ในมวลน ้าอยู่แล้วด้วยกิจกรรมในการกินอาหารและการขุดรูฝังตัว พวกหอย
                  สองฝา หอยนางรม หอยแมลงภู่และกลุ่มฟองน ้าล้วนเป็นพวกที่กรองอาหารจากมวลน ้าทั้งสิ้น เมื่ออยู่รวมกัน

                  เป็นกลุ่มใหญ่เป็นแพหอยก็จะช่วยกรองสารมลพิษหรือสารแขวนลอยต่าง ๆ ที่อยู่ในมวลน ้าได้ เปรียบเสมือน

                  เครื่องกรองน ้านั่นเอง กลุ่มสัตว์หน้าดินที่ถูกน ามาใช้ในกระบวนการบ าบัดทางชีวภาพส่วนใหญ่มีคุณสมบัติใน
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156