Page 148 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 148

การใช้ประโยชน์จากสัตว์หน้าดิน                                                          130



                  เปลี่ยนแปลงสายใยอาหารในระบบนิเวศแหล่งน ้า สัตว์หน้าดินหลายชนิดสามารถทนต่อภาวะมลพิษที่มีปริมาณ

                  อินทรียสารสูงและปริมาณออกซิเจนต ่าที่สัตว์อื่นไม่สามารถทนได้ Pearson and Rosenberg (1978) ได้สรุป
                  ขอบเขตการกระจายของสัตว์หน้าดินในทะเลที่สัมพันธ์กับปริมาณอินทรียสารในดินหรือมลภาวะในทะเล ดัง

                  ภาพที่ 5.6 ในบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีปริมาณอินทรียสารในระดับปกติจัดเป็นเขตที่มีสัตว์หน้าดินหลากหลาย

                  ชนิดโดยแต่ละชนิดมีจ านวนไม่แตกต่างกันมากเป็นลักษณะประชาคมปกติ (normal community) เขตที่ 2
                  เป็นเขตรอยต่อที่มีการผันแปรของจ านวนและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงปัจจัย

                  สิ่งแวดล้อมเป็นเขต Transition Zone ถ้ามีการสะสมอินทรียสารมากขึ้นจะพบว่ามีสัตว์หน้าดินบางชนิด

                  เท่านั้นที่ทนอยู่ได้และเพิ่มจ านวนมากขึ้น สัตว์หน้าดินที่พบได้ในบริเวณอินทรียสารสูงได้แก่ไส้เดือนทะเลบาง
                  กลุ่ม เช่นวงศ์ Spionidae Capitellidae Nereidae Nephytidae Orbiniidae แ ล ะวงศ์ Sternaspidae

                  นอกจากนี้มีหอยสองฝา Tellina spp. หอยฝาเดียวกลุ่มหอยขี้กา Cerithidea sp. ครัสตาเซียนกลุ่มแอมฟิ

                  พอดก็พบมีความหนาแน่นสูงในบริเวณที่มีอินทรียสารสูงเช่นกัน ดังภาพที่ 5.7 ในบริเวณที่มีปริมาณอินทรียสาร
                  สูงมากจนเป็นชั้นดินสีด าและมีกลิ่นเน่าเหม็นของไฮโดรเจนซัลไฟด์จะพบไส้เดือนทะเลบางกลุ่มที่อยู่ได้เท่านั้น

                  เช่น ไส้เดือนทะเลวงศ์ Spionidae และวงศ์ Capitellidae เมื่อมีการสะสมปริมาณอินทรียสารสูงมากจะไม่พบ

                  สัตว์หน้าดินอยู่ได้เลยจัดเป็นเขตที่ปราศจากสัตว์หน้าดิน Afaunal Zone




































                  ภาพที่ 5.6   การกระจายของสัตว์หน้าดินที่สัมพันธ์กับปริมาณอินทรียสารในทะเล
                             ที่มา: ดัดแปลงจาก Pearson and Rosenberg (1978) และ Rosenberg (2001)
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153