Page 146 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 146

การใช้ประโยชน์จากสัตว์หน้าดิน                                                          128



                           การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบชนิดและความชุกชุมของสัตว์หน้าดินในป่าชายเลนที่ปลูกทดแทนจะ

                  ส่งผลถึงการถ่ายทอดพลังงานและการกินอาหารในระบบนิเวศป่าชายเลนด้วย ดังภาพที่ 5.4 เมื่อเปรียบเทียบ
                  ลักษณะสายใยอาหารในบริเวณนากุ้งร้าง บริเวณป่าชายเลนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะมีความ

                  ซับซ้อนน้อยและมีการถ่ายทอดพลังงานเพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น เมื่อเทียบกับสายใยอาหารที่พบในป่าโกงกาง

                  ปลูกอายุ 6 ปี ซึ่งจะมีความซับซ้อนของสายใยอาหารมากกว่า และมีสัตว์หลายชนิดมีบทบาทในการถ่ายทอด
                  พลังงาน รวมทั้งมีขั้นตอนการถ่ายทอดพลังงานมากถึง 5-6 ขั้น จนถึงผู้บริโภคขั้นสูงสุด (ณิฏฐารัตน์  ปภาวสิทธิ์

                  และคณะ, 2557) ในการถ่ายทอดพลังงานและการกินอาหารในนากุ้งร้างจะเป็นลักษณะห่วงโซ่อาหารเป็น

                  เส้นตรงเริ่มจากซากอินทรียสารเท่านั้น มีสิ่งมีชีวิตไม่ครบทุกล าดับขั้นตอนการถ่ายทอดพลังงาน ในขณะที่
                  สายใยอาหารที่พบในป่าโกงกางปลูกอายุ 6 ปี มีความซับซ้อนมาก พบทั้งสายใยอาหารที่เริ่มต้นจากพืชสีเขียว

                  และสายใยอาหารที่เริ่มต้นจากอินทรียสาร มีสิ่งมีชีวิตครบทุกล าดับขั้นการถ่ายทอดพลังงาน










































                  ภาพที่ 5.4   การเปรียบเทียบลักษณะสายใยอาหารในบริเวณนากุ้งร้างกับลักษณะสายใยอาหารในบริเวณ

                             ป่าโกงกางปลูกอายุ 6 ปี บริเวณป่าชายเลนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                             ที่มา : ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์และคณะ (2557)
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151