Page 147 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 147

การใช้ประโยชน์จากสัตว์หน้าดิน                                                          129



                         สัตว์หน้าดินหลายชนิดสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนปลูกได้ เช่น ปูแสม ปู

                  ก้ามดาบและหอยสีแดง และปูทะเล ดังภาพที่ 5.5 ปูก้ามดาบ Uca forcipata เป็นพวกที่กินอินทรียสารในดิน
                  และสาหร่ายขนาดเล็กบนผิวดิน งานวิจัยหลายงานได้แสดงให้เห็นว่าความหนาแน่นของปูก้ามดาบ Uca

                  forcipata เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนตามปริมาณอินทรียสารและอายุของป่าชายเลน (Frith and Frith, 1978;

                  จ าลอง โตอ่อน 2542) เมื่อศึกษาการกระจายของหอยสีแดง Ovassiminea brevicula ตามลักษณะถิ่นที่อยู่
                  อาศัยย่อย (microhabitat) ในป่าชายเลน พบว่าหอยสีแดงมีรูปแบบการกระจายตัวเป็นแบบรวมกลุ่ม

                  โดยเฉพาะป่าชายเลนปลูกที่มีร่มเงาและมีปริมาณอินทรียสารค่อนข้างสูง บริเวณที่มีซากใบไม้ทับถมเป็นบริเวณ

                  ที่เหมาะสมที่สุดส าหรับหอยสีแดงอาศัยอยู่ ความหนาแน่นของหอยสีแดงเพิ่มมากขึ้นตามอายุของป่าชายเลน
                  ปลูก (จ าลอง โตอ่อน, 2542; Suzuki et al., 1997; ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์ และคณะ, 2546)






























                  ภาพที่ 5.5   สัตว์หน้าดินที่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน

                             (ก) ปูก้ามดาบ Uca forcipata (ข) ปูแสม Perisesarma eumolpe
                             (ค) หอยสีแดง Ovassiminea brevicula



                  5.3 การใช้สัตว์หน้าดินเป็นดัชนีหรือตัวชี้วัดคุณภาพน ้าและดินตะกอน
                           สัตว์หน้าดินด ารงชีวิตด้วยการอาศัยอยู่บริเวณผิวดินหรือฝังตัวและขุดรูอาศัยอยู่ในดิน เป็นพวก

                  เคลื่อนที่ได้น้อยและค่อนข้างเชื่องช้า บางชนิดเกาะอาศัยอยู่กับที่ตามพื้นท้องน ้า องค์ประกอบและความชุกชุม

                  ของสัตว์หน้าดินจึงมีความสัมพันธ์กันคุณภาพน ้าและดินตะกอนในแหล่งอาศัย กิจกรรมของมนุษย์โดยเฉพาะ
                  การขยายของเมือง การขยายตัวของแหล่งอุตสาหกรรมและการเพาะเลี้ยงทั้งสัตว์บกและสัตว์น ้า ล้วนส่งผล

                  กระทบต่อแหล่งน ้าทั้งสิ้นที่ส าคัญคือการลดลงและการเสื่อมสภาพของระบบนิเวศในแหล่งน ้า เช่น ผลกระทบ

                  จากการท านากุ้งต่อระบบนิเวศป่าชายเลน การเพิ่มขึ้นของปริมาณอินทรียสารในแหล่งน ้าจืดและในทะเล การ
                  สะสมสารมลพิษในระบบนิเวศแหล่งน ้าตลอดจนการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนการ
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152