Page 152 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 152

การใช้ประโยชน์จากสัตว์หน้าดิน                                                          134



                  การมีวงจรชีวิตสั้น สามารถทนได้ต่อความเป็นพิษของสารพิษ และสามารถให้ผลผลิตเป็นผลพลอยได้หลัง

                  กระบวนการบ าบัดทางชีวภาพ ไส้เดือนทะเลหลายชนิดถูกน ามาใช้ในการบ าบัดทางชีวภาพในระบบการ
                  เพาะเลี้ยงแบบผสมผสาน (integrated aquaculture system) และในบริเวณชายฝั่งทะเลที่ประสบปัญหา

                  มลภาวะจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณอินทรียสาร (organic enrichment) ไส้เดือนทะเลเหล่านี้สามารถทนทาน

                  ต่อความเป็นพิษของสารพิษ และในขณะเดียวกันสามารถให้ผลผลิตท าให้เกิดรายได้หลังผ่านกระบวนการบ าบัด
                  ทางชีวภาพแล้ว ไส้เดือนทะเลวงศ์ Nereididae เช่น เพรียงทราย Perineneis nuntia และวงศ์ Capitillidae

                  มักน ามาใช้ในการบ าบัดทางชีวภาพในระบบเพาะเลี้ยงปลา การเลี้ยงกุ้งและการเลี้ยงหอยแมลงภู่ การบ าบัด

                  ทางชีวภาพในดินตะกอนที่มีปริมาณอินทรียสารสูงโดยไส้เดือนทะเลสามารถด าเนินการโดยการย่อยสลาย
                  อินทรียสาร (biodegradation) และการรบกวนชั้นดินตะกอน (bioturbation) เช่น การกินอาหาร การ

                  เคลื่อนที่ การสร้างรูหรือท่อหุ้มตัว ตลอดจนการไหลเวียนของน ้าภายในรูที่อยู่อาศัยของไส้เดือนทะเล ดังภาพที่

                  5.9 ไส้เดือนทะเลเหล่านี้สามารถน าสารอาหารและอินทรียสารที่ปล่อยออกมาในระบบเพาะเลี้ยงมาใช้ในการ
                  สร้างเป็นมวลชีวภาพ ผลผลิตที่ได้จากกระบวนการบ าบัดทางชีวภาพคือการเพิ่มมวลชีวภาพของไส้เดือนทะเล

                  และการลดลงของปริมาณอินทรียสารในดินตะกอน รวมทั้งการลดลงของปริมาณซัลไฟด์ในดินตะกอน

                  นอกจากนี้ยังมีน ้าและคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว ดังนั้นเมื่อท าการเก็บเกี่ยวไส้เดือน
                  ทะเลเหล่านี้ออกจากระบบเพาะเลี้ยงก็เป็นการก าจัดปริมาณอินทรียสารด้วย ในขณะที่สามารถน าไส้เดือนทะเล

                  เหล่านี้ไปจ าหน่ายต่อไปเพื่อเป็นอาหารส าหรับขุนพ่อแม่พันธุ์กุ้ง เป็นเหยื่อตกปลา เป็นต้น เพรียงทราย

                  Perinereis nuntia มีความส าคัญในการเป็นแหล่งกรดไขมันที่จ าเป็นต่อพัฒนาการของระบบสืบพันธุ์ของ
                  กลุ่มครัสตาเซียน



                                          กระบวนการในการบ าบัดทางชีวภาพ       ผลผลิต
                                        •  การย่อยสลายอินทรีย์สาร           •  การเพิ่มขึ้นของมวลชีวภาพไส้เดือนทะเล
                     ดินตะกอน
                     ที่มีปริมาณ           (Biodegradable)                  •  การลดลงของปริมาณอินทรีย์สารและ
                                        •  การรบกวนชั้นดินตะกอน                ปริมาณซัลไฟด์ (H 2S) ในดินตะกอน
                    อินทรีย์สารสูง         (Bioturbation)                   •  คาร์บอนไดออกไซด์ (CO )
                                                                                                 2
                                                                            •  น ้า



                  ภาพที่ 5.9   หลักในการใช้ไส้เดือนทะเลในการบ าบัดทางชีวภาพของดินตะกอนที่มีปริมาณอินทรียสารสูง

                             ที่มา : ดัดแปลงจาก Alexander (1994) และ Sigvaldadottir (1996)
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157