Page 153 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 153

การใช้ประโยชน์จากสัตว์หน้าดิน                                                          135



                         การใช้ไส้เดือนทะเลในการบ าบัดทางชีวภาพนิยมใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพน ้าเพื่อรักษาสุขอนามัยและ

                  ความเสถียรในระบบการเพาะเลี้ยงชายฝั่งและบริเวณชายฝั่งทะเล มีการใช้ไส้เดือนทะเลกลุ่มที่กินอาหารในดิน
                  ตะกอน (deposit feeder) ในสกุล Capitella ในการบ าบัดทางชีวภาพทางดินตะกอนที่มีอินทรียสารสูงใน

                  ฟาร์มเลี้ยงปลาและบริเวณชายฝั่งตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ได้ท าการทดลองเพื่อพัฒนา

                  เทคนิคการบ าบัดทางชีวภาพดินตะกอนที่มีปริมาณอินทรียสารสูงโดยใช้ไส้เดือนทะเล Capitella sp. ที่ได้จาก
                  การเพาะเลี้ยงในปริมาณมาก (mass  culture) ซึ่งพบว่าได้ผลดีและน ามาใช้ในการบ าบัดทางชีวภาพดิน

                  ตะกอนจากฟาร์มเลี้ยงปลาขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ (Chareonpanich et al.,1993; Chareonpanich

                  et al., 1994; Tsutsumi et al., 2002; Tsutsumi et al. 2005; Kinoshita et al., 2008)
                           หลักการในการคัดเลือกไส้เดือนทะเลมาใช้ในการบ าบัดทางชีวภาพคือเราต้องท าการศึกษาชีววิทยา

                  และนิเวศวิทยาของไส้เดือนทะเลกลุ่มที่คัดเลือกอย่างละเอียด เพื่อน าข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการเพาะเลี้ยงและ

                  เก็บเกี่ยวผลผลิตของไส้เดือนทะเลชนิดนั้น ๆ โดยเฉพาะต้องมีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงเป็นปริมาณมากหรือ
                  สามารถน ามาเลี้ยงควบคู่ในระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าแบบผสมผสานได้  นอกจากนี้ไส้เดือนทะเลที่ถูกคัดเลือก

                  เพื่อน ามาใช้ในการบ าบัดทางชีวภาพควรเป็นไส้เดือนทะเลที่พบเป็นกลุ่มเด่นและพบกระจายกว้างในบริเวณ

                  ชายฝั่งทะเลที่ท าการศึกษา ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ไส้เดือนทะเลชนิดที่เป็นพันธุ์ต่างถิ่น (invasive species)
                  (Tsutsumi et al. 2005; Gifford et al., 2006) ด้วยหลักการดังกล่าว To-orn (2016) จึงได้ท าการศึกษาการ

                  ใช้ไส้เดือนทะเลสกุล Prionospio ในการบ าบัดชีวภาพของดินตะกอนอินทรียสารสูงบริเวณแพเชือกเลี้ยง

                  หอยแมลงภู่บริเวณชายฝั่งทะเลศรีราชา จังหวัดชลบุรี การศึกษาครั้งนี้ได้เลือกไส้เดือนทะเล Prionospio
                  (Prionspio) membranacea ซึ่งเป็นไส้เดือนทะเลกลุ่มเด่นสกุล Prionospio ที่พบได้ในบริเวณชายฝั่งทะเล

                  ศรีราชา ไส้เดือนทะเลชนิดนี้พบได้มากในบริเวณชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบจากน ้าเสียชุมชนในเขตเทศบาลและ

                  ใต้แพเลี้ยงหอยแมลงภู่ ไส้เดือนทะเลสกุล Capitella และไส้เดือนทะเลสกุล Prionospio  เป็นไส้เดือนทะเล
                  กลุ่มเด่นที่พบเสมอในบริเวณดินตะกอนที่มีอินทรียสารสูง ไส้เดือนทะเลทั้งสองกลุ่มเป็นไส้เดือนทะเลขนาดเล็ก

                  มีวงจรชีวิตสั้นและสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้ดีในดินที่มีปริมาณอินทรียสารสูง ในขณะที่สัตว์ทะเลหน้าดินชนิด

                  อื่นไม่สามารถด ารงชีวิตอยู่ได้ (Pearson and Rosenberg, 1978; Dauer, 1993; Diaz and Rosenberg,
                  1995; Borja et al., 2000) ผลการศึกษาของ To-on (2015) พบว่าไส้เดือนทะเล P. membranacea มี

                  ศักยภาพในการบ าบัดทางชีวภาพของดินตะกอนที่มีปริมาณอินทรียสารสูงใต้แพเชือกเลี้ยงหอยแมลงภู่บริเวณ

                  อ่าวศรีราชา ประสิทธิภาพของไส้เดือนทะเล P. membranacea เมื่อเลี้ยงในปริมาณมากแล้วน ามาปล่อยใน
                  ดินตะกอนใต้แพหอยคล้ายคลึงกับเทคนิคที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาใช้กับดินตะกอนจากฟาร์ม

                  เลี้ยงปลานั้น สามารถลดปริมาณอินทรียสารได้ร้อยละ 26.23-45.80 และลดปริมาณซัลไฟด์ได้ร้อยละ 11.99-

                  17.92 ในช่วงเวลาการทดลองเพียง 1 เดือน ดังภาพที่ 5.10 ประสิทธิภาพการบ าบัดทางชีวภาพของไส้เดือน
                  ทะเลขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของไส้เดือนทะเลที่เติมลงไปในดิน
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158