Page 149 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 149

การใช้ประโยชน์จากสัตว์หน้าดิน                                                          131



                           ในแหล่งน ้าจืดเราพบว่าสัตว์หน้าดินบางพวกทนต่อมลพิษจากปริมาณอินทรียสารสูงได้ เช่น ไส้เดือน

                  น ้าในวงศ์ Tubificidae ตัวอ่อนแมลงในวงศ์ Chironomidae และหอยสองฝาบางชนิด สัตว์หน้าดินเหล่านี้
                  สามารถใช้เป็นดัชนีหรือตัวชี้วัดคุณภาพแหล่งน ้า (bioindicators) นอกเหนือจากเป็นตัวชี้วัดคุณภาพแหล่งน ้าที่

                  เป็นมลภาวะแล้วสัตว์หน้าดินบางชนิดจะพบแต่แหล่งน ้าคุณภาพดี เช่นในบริเวณแหล่งน ้าจืดนั้นตัวอ่อน

                  แมลงสโตนฟรายและตัวอ่อนแมลงชีปะขาวจะพบในแหล่งน ้าที่มีคุณภาพดีมาก ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน ้ามี
                  ปลอกและตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน ้าไม่มีปลอกพบได้ในแหล่งน ้าคุณภาพดี ส่วนตัวอ่อนแมลงปอ กุ้งและปู

                  พบได้บริเวณแหล่งน ้าที่มีคุณภาพพอใช้ เป็นต้น ดังภาพที่ 5.8

                           สัตว์หน้าดินที่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้สภาวะมลพิษในแหล่งน ้าได้นั้นมักมีลักษณะร่วมกัน คือเป็นสัตว์
                  หน้าดินขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มีความทนทานสูงต่อสภาพการขาดออกซิเจน และทนได้ต่อปริมาณซัลไฟด์

                  ในดินตะกอน สัตว์หน้าดินเหล่านี้มักขุดรูอยู่ในดินโดยเฉพาะพวกที่อยู่ในดินโคลนหรือทรายแป้งจะมีความ

                  ทนทานมากกว่าพวกที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นทรายหรือทรายหยาบ นอกจากนี้สามารถแพร่พันธุ์หรือเพิ่มประชากร
                  ได้เร็วมีวงจรชีวิตสั้น สัตว์หน้าดินเหล่านี้มักเป็นพวกที่กินซากสิ่งมีชีวิตและปริมาณอินทรียสารในดินโดยไม่มีการ

                  เลือกขนาดอนุภาคดินตะกอนและบางชนิดก็ด ารงชีพเป็นผู้ล่า

                           ตัวอย่างการใช้สัตว์หน้าดินขนาดใหญ่บ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมทางน ้าได้แก่งานวิจัยของ ณัฐกิตทิ์
                  โตอ่อน (2561ข) ที่ท าการศึกษาองค์ประกอบชนิดและความหนาแน่นของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่บริเวณพื้นที่

                  กระชังเลี้ยงปลาในแม่น ้าน้อยอ าเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบสัตว์หน้าดินกลุ่มไส้เดือนน ้าวงศ์

                  Tubificidae และ Naididae ไส้เดือนทะเลวงศ์ Nephtyidae และตัวอ่อนแมลงวงศ์ Chironomidae เป็นกลุ่ม
                  เด่นในบริเวณแหล่งเลี้ยงปลาในกระชัง แสดงถึงสภาวะการเพิ่มปริมาณอินทรียสารสูงในแหล่งน ้า นอกจากนี้

                  ความหลากหลายชนิดและความชุกชุมของหอยน ้าจืดสามารถน ามาใช้บ่งชี้คุณภาพสิ่งแวดล้อมในแม่น ้าป่าสัก

                  จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ (ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน, 2561) เขาพบว่าความหลากหลายชนิดของหอยน ้าจืดในแม่
                  น ้าป่าสักรวม 10 สกุล 12 ชนิด ในบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับอดีต แต่ถ้าเทียบความ

                  หลากหลายชนิดของหอยน ้าจืดในบริเวณแม่น ้าป่าสัก จังหวัดสระบุรี ซึ่งพบได้มากกว่ารวม 14 สกุล ทั้งนี้อาจมี

                  สาเหตุมาจากแม่น ้าป่าสักจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบริเวณตอนล่างของแม่น ้าที่ได้รับอิทธิพลจากการ
                  สะสมสารมลพิษพวกสารอินทรีย์และสารเคมีจากกิจกรรมมนุษย์ทั้งจากแหล่งชุมชนและเกษตรกรรม รวมถึง

                  การขนส่งสินค้าโดยทางเรือและการขุดลอกดินตะกอนพื้นน ้าซึ่งเป็นการรบกวนแหล่งอาศัยของสัตว์น ้าและหอย

                  น ้าจืด พบความชุกชุมของหอยทราย Mekongia swainsoni brueri มีความสัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับการเพิ่ม
                  ปริมาณอินทรียสารในดิน โดยพบชุกชุมในบริเวณที่มีการเพิ่มปริมาณอินทรียสารจากน ้าทิ้งของแหล่งชุมชน

                  หอยทรายชนิดนี้เป็นหอยน ้าจืดเศรษฐกิจที่ส าคัญ หากเกิดภาวะน ้าเน่าเสียจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณอินทรีย

                  สารสูงในแม่น ้าอาจส่งผลให้จ านวนประชากรของหอยน ้าจืดชนิดนี้ลดลงหรือสูญพันธุ์ไป
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154