Page 142 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 142

การใช้ประโยชน์จากสัตว์หน้าดิน                                                          124



                  5.2 การใช้สัตว์หน้าดินในการติดตามสถานะภาพและการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศ

                           การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในป่าชายเลน เช่น การแผ้วถางป่าเพื่อท าเป็นนากุ้ง การถมพื้นที่ป่า
                  ชายเลนเพื่อเป็นที่ก าจัดขยะ ตลอดจนการปลูกและฟื้นฟูป่าชายเลน ล้วนแต่ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสัดส่วน

                  ของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่กลุ่มหลักในป่าชายเลน ได้แก่ ไส้เดือนทะเล ครัสตาเซียนและหอย สามารถบอกได้

                  ถึงการรบกวนที่เกินขึ้นในบริเวณป่าชายเลน ในสภาพป่าชายเลนธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์มักจะพบความ
                  หลากหลายชนิดของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่กลุ่มหลัก ได้แก่ ไส้เดือนทะเล ครัสตาเซียนและหอย มีสัดส่วน

                  เท่ากับร้อยละ 15: 40: 30 ในสภาพป่าชายเลนเสื่อมโทรมหรือมีการรบกวนจะพบไส้เดือนทะเลมีสัดส่วนสูงกว่า

                  กลุ่มอื่น (ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์ และคณะ, 2546) ดังนั้น ถ้าเรามีสัดส่วนจ านวนข้อมูลชนิดของสัตว์ทะเลหน้า
                  ดินกลุ่มเด่นทั้งจ านวนชนิดและความหนาแน่น เราก็สามารถประเมินสภาพของทรัพยากรป่าชายเลนในพื้นที่

                  ศึกษาได้ตามเกณฑ์ที่ก าหนดโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2551) ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เราสามารถ

                  เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้โดยการเปรียบเทียบข้อมูลที่มีอยู่เดิมในสภาพป่าธรรมชาติหรือยังไม่มีการ
                  รบกวน หรือข้อมูลองค์ประกอบชนิดและความหนาแน่นของสัตว์หน้าดินที่พบในป่าชายเลนแห่งนี้ก่อนมีการ

                  ปลูกและฟื้นฟูป่าชายเลน เป็นต้น ด้วยหลักการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของสัตว์หน้าดินกลุ่มหลัก

                  ที่พบในป่าชายเลน เพื่อประเมินสถานะภาพและการเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศป่าชายเลนนี้ ก็สามารถน าไปใช้
                  ได้กับการศึกษาในแหล่งน ้าอื่น เช่น บริเวณหาดหิน หาดทราย หาดเลน หรือแม้แต่ในแหล่งน ้าจืดในแม่น ้า และ

                  ทะเลสาบ เพียงแต่ต้องมีข้อมูลส าหรับเปรียบเทียบซึ่งเป็นช่วงก่อนมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในระบบ

                  นิเวศ ข้อมูลเหล่านี้สามารถหาได้และรวบรวมได้จากการส ารวจเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                           การปลูกป่าชายเลนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงประชากรสัตว์หน้าดิน โดยมีการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์

                  ในแง่แหล่งอาหาร โดยเฉพาะปริมาณอินทรียสารและการเพิ่มความหลากหลายของถิ่นที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะร่ม

                  เงาจากต้นไม้ ระบบรากและความชุ่มชื้นที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น เราพบว่าสัตว์หน้าดินแต่ละชนิดจะมีการเพิ่มและลด
                  จ านวนเพื่อทดแทนกัน เนื่องจากมีการตอบสนองหรือปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยสิ่งแวดล้อมได้แตกต่าง

                  กัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยทางชีวภาพมาเกี่ยวข้อง เช่น การแก่งแย่งพื้นที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหาร ตลอดจน

                  การถูกล่าโดยผู้ล่า เป็นต้น ภาพที่ 5.2 แสดงกระบวนการแทนที่ของสัตว์หน้าดินในป่าชายเลนปลูกที่มีอายุ
                  ต่างกัน (ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์ และคณะ, 2557) เมื่อเริ่มปลูกป่าทดแทนจะพบว่าองค์ประกอบของสัตว์หน้า

                  ดินมีลักษณะใกล้เคียงกับองค์ประกอบชนิดเมื่อก่อนปลูกเมื่อต้นไม้เติบโตขึ้นมีอายุประมาณ 1 ปี จะมีสัตว์หน้า

                  ดินขนาดเล็กที่จัดเป็นกลุ่มบุกเบิก (opportunistic species) ซึ่งกลุ่มครัสตาเซียนกลุ่มทาไนเดเซียน
                  (tanaidaceans) ไส้เดือนทะเลตัวกลม (nematodes) หนอนถั่ว (sipunculids) หรือไส้เดือนทะเลขนาดเล็กที่

                  กินอินทรียสารเป็นหลัก สัตว์หน้าดินกลุ่มบุกเบิกนี้เป็นสัตว์หน้าดินขนาดเล็กสามารถแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วใน

                  ระยะเวลาสั้น ในระยะแรกพบสัตว์หน้าดินกลุ่มบุกเบิกเพิ่มจ านวนมากจนเป็นกลุ่มเด่น เมื่อป่ามีอายุมากขึ้นสัตว์
                  หน้าดินขนาดเล็กเหล่านี้อาจแทนที่กัน เริ่มมีพวกสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่กลุ่มไส้เดือนทะเล หอยและครัสตา

                  เซียนเพิ่มขึ้น ในที่สุดเมื่อความสมบูรณ์ของป่าใกล้เคียงกับสภาพป่าชายเลนธรรมชาติจะพบว่า ปู หอยฝาเดียว
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147