Page 139 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 139

บทที่ 5

                                              การใช้ประโยชน์จากสัตว์หน้าดิน



                           สัตว์หน้าดินนอกจากมีบทบาทเป็นทรัพยากรประมงที่ส าคัญที่เป็นอาหารของมนุษย์แล้ว สัตว์หน้าดิน

                  ยังเป็นแหล่งอาหารที่ส าคัญส าหรับสัตว์หลายชนิดทั้งสัตว์น ้าและสัตว์บก เช่น ปลา ปูทะเล ลิงแสม งู และ

                  สัตว์เลื้อยคลาน ตลอดจนนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น เรายังสามารถใช้ประโยชน์สัตว์หน้าดินได้หลาย
                  ประการ คือ การใช้สัตว์หน้าดินเพื่อประเมินความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง ตลอดจนติดตาม

                  สถานภาพและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศหรือแหล่งน ้า สัตว์หน้าดินหลายชนิดสามารถใช้เป็นดัชนี

                  หรือตัวชี้วัดคุณภาพน ้าและดินตะกอน เช่น กลุ่มไส้เดือนทะเลและหอยบางชนิด การใช้สัตว์หน้าดินในการ
                  บ าบัดทางชีวภาพเพื่อลดผลกระทบจากมลภาวะในแหล่งน ้าเป็นแนวทางที่ใช้ธรรมชาติ “ช่วยรักษาบ าบัด

                  ธรรมชาติ” โดยที่ไม่มีสารพิษตกค้างสะสมในสิ่งแวดล้อม พร้อมกันนี้ยังให้ผลผลิตสัตว์หน้าดินที่ใช้เป็นอาหาร

                  สัตว์น ้าต่อไปได้ การใช้ประโยชน์สัตว์หน้าดินในการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าเป็นแนวทางที่มีการศึกษามานานเพื่อเป็น
                  การเพิ่มผลผลิตทรัพยากรประมงที่ลดลงในธรรมชาติ เช่น การเพาะเลี้ยงกุ้งและการเพาะเลี้ยงหอยชนิดต่าง ๆ

                  นอกจากนี้ยังมีการเพาะเลี้ยงสัตว์หน้าดินเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์น ้าวัยอ่อนอีกด้วย สัตว์หน้าดินหลายชนิดมี

                  ประโยชน์ในวงการแพทย์เนื่องจากมีสารชีวภาพ (bioactive ingredients) มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะและอาหาร
                  เสริมได้ จึงเป็นแนวทางการวิจัยใหม่ในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเทคนิคในการสกัดสารชีวภาพที่มีฤทธิ์เหล่านี้ใน

                  สัตว์หน้าดินและกระบวนการที่น ามาผลิตเป็นยารักษาโรคและอาหารเสริมส าหรับมนุษย์ต่อไป ซึ่งในประเทศที่มี

                  ความก้าวหน้าในด้านนี้ก็จะท าการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์หน้าดินกลุ่มเป้าหมายให้ได้เป็นจ านวนมาก (mass
                  culture) พอเพียงส าหรับการผลิตสารหรือยาอย่างต่อเนื่อง



                  5.1 การใช้สัตว์หน้าดินในการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง
                           การใช้สัตว์หน้าดินในการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงสามารถใช้โดยตรงในกลุ่ม

                  สัตว์หน้าดินที่เป็นสัตว์น ้าเศรษฐกิจ เช่น กุ้ง ปูทะเล ปูม้า หอยแครง หอยเสียบ หอยทรายและหอยหลอด

                  รวมถึงปลาหน้าดินหลายชนิด ทั้งนี้ ชนิด ลักษณะการกระจาย และความชุกชุมของสัตว์หน้าดินกลุ่มนี้เป็น
                  ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงแหล่งประมงและความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์หน้าดินที่มีความส าคัญทางเศรษฐกิจในแหล่งน ้านั้น

                  ๆ สัตว์หน้าดินมีความส าคัญในแง่เป็นอาหารตามธรรมชาติของสัตว์น ้า ความหนาแน่นและความหลากหลาย

                  ชนิดของสัตว์ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งจึงเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของปลาที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น ซึ่งจะ
                  เชื่อมโยงไปถึงฝูงปลาที่มีความส าคัญทางเศรษฐกิจด้วย (Thorson,1957; Lagler, 1962) ในกรณีนี้เป็นการใช้

                  ความหลากหลายชนิดและปริมาณสัตว์หน้าดินที่พบในการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง

                  ทางอ้อม
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144