Page 27 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 27

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์หน้าดิน                                                        9



                         1.2.2  บทบาทของสัตว์หน้าดินในการหมุนเวียนธาตุอาหารและการกวนตะกอน

                                ตลอดจนการตกตะกอนในแหล่งน ้า
                           การด ารงชีวิตของสัตว์หน้าดินตามพื้นท้องน ้าทั้งการกินอาหาร การขุดรูเพื่อฝังตัว ตลอดจนการ

                  เคลื่อนที่ไปตามพื้นดินหรือเคลื่อนที่ไปในดินนั้น ล้วนมีบทบาทส าคัญในการหมุนเวียนธาตุอาหารจากพื้นดินชั้น

                  ล่างสู่มวลน ้าด้านบน นอกจากนี้ยังมีส่วนในการย่อยสลายอินทรียสารและช่วยลดปริมาณแก๊สไข่เน่า และลด
                  ความเป็นพิษของดินชั้นล่างได้อีกด้วย การด ารงชีวิตของสัตว์หน้าดินตามพื้นท้องน ้ามีผลต่อการเปลี่ยนรูปของ

                  สารอินทรีย์ไปเป็นสารอนินทรีย์ที่เป็นประโยชน์กับผู้ผลิตพวกแพลงก์ตอนพืชหรือพืชน ้า การกินตะกอนและการ

                  ขุดรูฝังตัวลงในดินของไส้เดือนน ้า ไส้เดือนทะเล หอยสองฝาและพวกปูชนิดต่าง ๆ มีส่วนช่วยให้ธาตุอาหารที่อยู่
                  ในดินระดับล่างถูกปล่อยออกสู่มวลน ้าเป็นประโยชน์กับผู้ผลิตอีกครั้ง การขุดลงในดินของสัตว์ทะเลหน้าดิน

                  หลายกลุ่มท าให้ปริมาณออกซิเจนในน ้า และอากาศสามารถแทรกลงในดินระดับลึกได้มากขึ้น ช่วยลดปริมาณ

                  ก๊าซไข่เน่าที่สะสมอยู่ในดินและลดความเป็นพิษของดินชั้นล่าง หรือแม้แต่การกัดกินใบไม้ของปูแสม (grapsid
                  crabs) ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน ยังมีส่วนช่วยเร่งให้กิจกรรมการย่อยสลายสารอินทรีย์ของพวกแบคทีเรียเกิดได้

                  เร็วขึ้น อนินทรียสารที่ได้จากกระบวนการจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตในระบบนิเวศป่าชายเลน และมวลน ้า

                  บริเวณชายฝั่งทะเลใกล้เคียงต่อไป
                           ภาพที่ 1.5 แสดงการขุดรูและฝังตัวลงในดินของสัตว์หน้าดินพวกหอยสองฝา กุ้งเครย์ฟิช (crayfish)

                  ไส้เดือนน ้า (tubificid) และตัวอ่อนของแมลงน ้า การกวนชั้นดินตะกอนของสัตว์หน้าดินช่วยเพิ่มการแพร่ของ

                  ก๊าซออกซิเจนลงไปในดินชั้นล่างระดับลึกและเพิ่มการหมุนเวียนของธาตุอาหารหลัก (macronutrients) พวก
                  ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และอินทรีย์คาร์บอนและพวกธาตุอาหารรอง (micronutrients, trace elements)

                  กระบวนการกวนตะกอน (bioturbation) และการถ่ายมูลของพวกกุ้งเคย (mysid) แอมฟิพอด (amphipod)

                  และหอยฝาเดียวจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพวกจุลินทรีย์ และหมุนเวียนธาตุอาหารจากการกวนดินตะกอน
                  ชั้นผิวดินและการกัดกินพวกอินทรียสาร (Covich et al., 1999)

                           ภาพที่ 1.6 แสดงการหมุนเวียนธาตุอาหารจากกิจกรรมของสัตว์หน้าดินโดยการที่สัตว์หน้าดินจะท า

                  การเปลี่ยนสารอินทรีย์ที่เก็บสะสมไว้ในดินตะกอนให้เป็นธาตุอาหารในรูปที่ละลายน ้า (dissolved nutrients)
                  ซึ่งจะถูกแพลงก์ตอนพืชและพวกพืชขนาดใหญ่น าไปใช้เพื่อการเพิ่มผลผลิตเบื้องต้น (primary production)

                  พืชเหล่านี้จะกลับมาเป็นอาหารของสัตว์หน้าดินบางชนิดโดยเฉพาะพวกที่กินทั้งพืชและสัตว์ (omnivores) ซึ่ง

                  สามารถกินทั้งพืชขนาดใหญ่ แพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ ทั้งนี้สัตว์หน้าดินส่วนใหญ่ยังเป็นอาหารของ
                  ปลาอีกด้วย (Covich et al., 1999)
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32