Page 30 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 30

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์หน้าดิน                                                      12



                  ถมของดินตะกอนเพิ่มขึ้นในบริเวณแหล่งอาศัย นอกจากนั้นไส้เดือนทะเลบางชนิดจะมีการปล่อยเมือก

                  (mucus) ออกมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกวาดกินดินตะกอนขนาดเล็กอีกด้วย


                         1.2.3 บทบาทของสัตว์หน้าดินในการใช้เป็นดัชนีชี้บ่งสภาวะความเน่าเสียของแหล่งน ้า

                           สัตว์หน้าดินบางชนิดสามารถอาศัยอยู่ได้ในสภาพแหล่งน ้าที่มีปริมาณออกซิเจนละลายน ้าต ่า หรือ
                  เกิดภาวะมลพิษจากปริมาณสารอินทรีย์สูง เช่น หนอนแดง (blood worms) และไส้เดือนน ้าจืด (aquatic

                  oligochaetes) จะพบชุกชุมในแหล่งน ้าที่มีการปนเปื้อนจากสารอินทรีย์ในแหล่งน ้าจืด เช่น แม่น ้าหรือล าคลอง

                  ที่ได้รับอิทธิพลจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การเกษตร น ้าทิ้งจากบ้านเรือนหรือแม้แต่บ่อเลี้ยงปลาที่มีการ
                  สะสมของของเสียจากสิ่งขับถ่ายและอาหารเหลือตกค้าง เช่น การศึกษาของ หทัยรัตน์ สุดตา (2550) พบว่า

                  ไส้เดือนน ้า Branchiura sowerbyi และ Tubifex tubifex (วงศ์ Tubificidae) เป็นชนิดที่พบมากในแม่น ้า

                  นครชัยศรี และสามารถพบทุกครั้งที่ท าการส ารวจ ไส้เดือนน ้าทั้งสองชนิดสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้แหล่งน ้าที่มี
                  ปริมาณสารอินทรีย์รวมในดินตะกอนอยู่ระหว่าง 106.4-125.9 มิลลิกรัมต่อกรัม และมีซัลไฟด์รวมอยู่ระหว่าง

                  0.01-0.59 มิลลิกรัมต่อกรัมน ้าหนักแห้งได้ ส่วนไส้เดือนน ้าในวงศ์ Tubificidae เช่นกันคือไส้เดือนน ้า Nais sp.

                  และ Aeolosoma niveum มีการกระจายที่แสดงความสัมพันธ์กับปริมาณซัลไฟด์ในดินตะกอนและสามารถใช้
                  เป็นดัชนีบ่งบอกถึงปริมาณซัลไฟด์บริเวณพื้นท้องน ้าได้

                           ส่วนบริเวณชายฝั่งทะเลจะมีสัตว์หน้าดินกลุ่มไส้เดือนทะเล (polychaetes) บางชนิด เช่น

                  Capitella spp., Notomastus spp., Heteromastus spp. (ว ง ศ์  Capitellidae), Nereis spp. (ว ง ศ์
                  Nereididae) และ Prionospio spp. (วงศ์ Spionidae) อาศัยอยู่ชุกชุมในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากน ้าทิ้ง

                  จากชุมชนบ้านเรือนริมชายฝั่งทะเล และผลกระทบจากการเลี้ยงกุ้งทะเลและการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง เช่น การ

                  เลี้ยงปลาทะเลในกระชัง การเลี้ยงหอยนางรมและหอยแมลงภู่ เป็นต้น (ชุติมา ขมวิลัย, 2541; ณัฐกิตทิ์ โตอ่อน
                  และอลงกต อินทรชาติ, 2553; Chareonpanich, 1999) ปริมาณความชุกชุมของสัตว์หน้าดินเหล่านี้จึง

                  สามารถน ามาใช้เป็นดัชนีชี้บ่งสภาวะความเน่าเสียของแหล่งน ้าได้ ภาพที่ 1.8 แสดงสัตว์หน้าดินบางชนิดพวก

                  ไส้เดือนน ้าและไส้เดือนทะเลที่เป็นดัชนีบ่งสภาวะความเน่าเสียของแหล่งน ้า
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35