Page 29 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 29

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์หน้าดิน                                                      11



                           พฤติกรรมการด ารงชีวิตของสัตว์หน้าดินเช่นการขุดรูฝังตัวลงในดินตะกอนของไส้เดือนน ้า (aquatic

                  oligochaetes) ที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องน ้าในแม่น ้าล าคลอง บึง บ่อน ้าหรือทะเลสาบ พวกไส้เดือนทะเล
                  (polychaetes) และหอยสองฝา (bivalves) ที่อาศัยฝังตัวในดินบริเวณชายฝั่งทะเล ตลอดจนกิจกรรมการขุดรู

                  ของปูแสม (grapsid crabs) และปูก้ามดาบ (fiddler crabs) ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนมีส่วนช่วยให้ออกซิเจน

                  แพร่ลงสู่ดินชั้นล่างได้ดีขึ้น ในบริเวณที่เกิดมลภาวะของดินตะกอนซึ่งมีลักษณะดินสีด าและกลิ่นเหม็นของก๊าซ
                  ไข่เน่า กิจกรรมของสัตว์หน้าดินเหล่านี้จะช่วยลดความเน่าเสียของดินตะกอน ดังภาพที่ 1.7 กิจกรรมการกวน

                  ตะกอนและการกินอาหารของสัตว์หน้าดินมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการเพิ่มผลผลิตของจุลินทรีย์ที่ท า

                  หน้าที่ในการย่อยสลายพวกสารอินทรีย์และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจ าพวกคาร์บอนไดออกไซด์ (CO )
                                                                                                           2
                  และมีเทน (CH ) ก๊าซพิษพวกไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H S) และแอมโมเนีย (NH ) รวมทั้งการปลดปล่อยก๊าซ
                               4
                                                                                    4
                                                              2
                  ไนโตรเจน (N ) (Covich et al., 1999)
                             2
































                  ภาพที่ 1.7   กิจกรรมการกวนตะกอนสู่ที่ลึกของสัตว์หน้าดิน (ก) ไส้เดือนทะเล Arenicola

                             (ข) ปูแสมก้ามส้ม Parasesarma lanchesteri

                             ที่มา : (ก) Ruppert and Barnes (1991)


                           นอกจากนี้การขุดรูของสัตว์หน้าดินหลายชนิดที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น ไส้เดือนทะเลที่ฝังตัวอยู่ใน

                  ท่อปลอกหุ้มตัว (tubes) หอยแมลงภู่ หอยกะพงและหอยนางรมที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน สัตว์หน้าดินเหล่านี้
                  ส่วนใหญ่จะกรองกินซากอินทรีย์สารและอินทรีย์สารที่อยู่ในดินตะกอนจากน ้าเป็นอาหาร ในการกรองกินของ

                  มันจะมีการคัดเลือกขนาดของดินตะกอนให้มีขนาดพอเหมาะกับซี่เหงือกที่ใช้กรองหรือหนวดที่ส่งเข้าช่องปาก
                  อีกทีหนึ่ง ดังนั้นในการที่อยู่ร่วมกันเป็นปริมาณมากของสัตว์หน้าดินที่กรองกินเหล่านี้จะมีส่วนเร่งให้มีการตกทับ
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34