Page 25 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 25

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์หน้าดิน                                                        7



                           ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหรือแหล่งน ้าในแง่อาหาร และการถ่ายทอดพลังงานใน

                  ลักษณะสายใยอาหาร แบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ คือ
                           (1) สายใยอาหารแบบผู้ล่า (grazing food webs)

                           สายใยอาหารแบบนี้เริ่มต้นจากพืชสีเขียวซึ่งเป็นผู้ผลิตขั้นต้น (primary producers) ได้แก่ แพลงก์

                  ตอนพืช สาหร่าย พืชป่าชายเลน หรือพืชน ้าชนิดต่าง ๆ จากนั้นมีพวกแพลงก์ตอนสัตว์ ปูบางชนิดและลูกปลา
                  มากินแพลงก์ตอนพืช สาหร่าย พรรณไม้น ้าและไม้ป่าชายเลนเป็นอาหาร ปูบางชนิดและแมลงกินใบไม้ในป่า

                  ชายเลนเป็นอาหารโดยตรง สัตว์เหล่านี้เป็นอาหารของสัตว์ที่เป็นผู้ล่าที่อยู่ในขั้นการถ่ายทอดพลังงานในสายใย

                  อาหารต่อไปอีก เช่น ปลาและนกต่าง ๆ
                           (2) สายใยอาหารแบบกินซาก (detrital food webs)

                           พืชสีเขียว เช่น สาหร่าย พรรณไม้น ้า และพันธุ์ไม้ในป่าชายเลน นอกจากเป็นแหล่งผู้ผลิตขั้นต้นแล้ว

                  เมื่อร่วงหล่นสู่พื้นดินหรือพื้นน ้าจะผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยจุลชีพเป็นซากอินทรีย์สารที่เป็นอาหารอัน
                  โอชะส าหรับสัตว์หน้าดินและสัตว์น ้าอื่น ๆ เข้าสู่สายใยอาหารแบบกินซาก ซึ่งในสายใยอาหารแบบกินซากนี้เรา

                  จะเห็นบทบาทของสัตว์หน้าดินทั้งที่อาศัยอยู่ตามพื้นดินและอยู่ในดิน ตลอดจนกลุ่มสัตว์หน้าดินที่หากินบริเวณ

                  พื้นดิน เช่น ปลาหน้าดินหลายชนิด สัตว์หน้าดินเหล่านี้ก็จะกลายเป็นอาหารส าหรับสัตว์ใหญ่ต่อไปที่อยู่ในระบบ
                  นิเวศหรือแหล่งน ้า

                           ภาพที่ 1.4 แสดงสายใยอาหารในป่าโกงกางธรรมชาติบริเวณป่าชายเลนปราณบุรี จังหวัด

                  ประจวบคีรีขันธ์ (ณิฎฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์ และคณะ, 2557) ด้านซ้ายมือของภาพแสดงการถ่ายทอดอาหาร และ
                  พลังงานในลักษณะสายใยอาหารแบบผู้ล่าที่เริ่มต้นจากสาหร่ายหน้าดินขนาดเล็ก ไซยาโนแบคทีเรีย นาโน

                  แพลงก์ตอนและแพลงก์ตอนพืช ส่วนด้านขวามือของภาพเป็นลักษณะสายใยอาหารแบบกินซากซึ่งเริ่มต้นจาก

                  พืชสีเขียวคือ ใบไม้ ฝักโกงกาง เป็นต้น ในการถ่ายทอดอาหารและสายใยอาหารนี้จะได้เห็นบทบาทอันชัดเจน
                  ของสัตว์หน้าดินหลายกลุ่มทั้งโปรโตซัว ไส้เดือนตัวกลม แอมฟิพอด ไส้เดือนทะเล หอยฝาเดียว หอยสองฝา ปู

                  แสม ปูก้ามดาบหรือปูเปี้ยว และปลาหน้าดินหลายชนิดเช่นพวกปลาบู่ เป็นต้น
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30