Page 22 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 22

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์หน้าดิน                                                        4



                         1.1.2 ประวัติการศึกษาเกี่ยวกับสัตว์หน้าดิน

                           เนื่องจากสัตว์หน้าดินกลุ่มหอย กุ้ง ปู และปลาเป็นกลุ่มสัตว์ที่มีความส าคัญทางเศรษฐกิจเป็นอาหาร
                  ของมนุษย์จัดเป็นทรัพยากรประมงที่ส าคัญ จึงมีการศึกษาเพื่อศึกษาปริมาณ มวลชีวภาพ และขอบเขตการ

                  กระจายของสัตว์หน้าดินที่เป็นทรัพยากรประมง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาชีววิทยาและวงจรชีวิตของสัตว์หน้า

                  ดินเหล่านี้ เช่น การศึกษาชีววิทยาและวงจรชีวิตตลอดจนการกระจายของกุ้งที่มีความส าคัญทางเศรษฐกิจทั้งใน
                  แหล่งน ้าจืดและในทะเล เช่น กุ้งก้ามกราม และกุ้งแชบ๊วย เป็นต้น การศึกษาชีววิทยาและวงจรชีวิตตลอดจน

                  การกระจายของหอยที่มีความส าคัญทางเศรษฐกิจ เช่น หอยทรายในแม่น ้าป่าสัก หอยนางรม และหอยแมลงภู่

                  ในบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นต้น ซึ่งการศึกษาสัตว์หน้าดินในช่วงแรกมักเป็นการศึกษาเพื่อหาแหล่งทรัพยากร
                  ประมงและน าความรู้ต่าง ๆ จากการศึกษาชีววิทยาและวงจรชีวิตของสัตว์หน้าดินเหล่านี้มาใช้ในการจัดการ

                  ทรัพยากรประมง และน ามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์หน้าดินที่มีความส าคัญทาง

                  เศรษฐกิจเพื่อทดแทนปริมาณที่ลดลงในธรรมชาติ เช่น การส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งชนิดต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยง
                  หอยนางรม และหอยแมลงภู่ เป็นต้น

                           การศึกษาสัตว์หน้าดินส่วนใหญ่มุ่งศึกษาความหลากหลายของชนิดสัตว์หน้าดินที่พบในระบบนิเวศ

                  หรือแหล่งน ้าต่าง ๆ มีการศึกษาขอบเขตการกระจาย ปริมาณ และมวลชีวภาพเพื่อดูความอุดมสมบูรณ์ของ
                  บริเวณที่ท าการศึกษา นอกจากนี้ส่วนใหญ่มักศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์หน้าดินกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม

                  ต่าง ๆ ประกอบกันไปด้วย การศึกษาบางเรื่องมุ่งให้ความสนใจที่จะใช้สัตว์หน้าดินเป็นดัชนีที่ชี้บ่งคุณภาพของ

                  แหล่งน ้า หรือสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้น ๆ เช่น การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพโดยพิจารณาจากค่า
                  ดัชนีความแตกต่าง (species diversity index) ค่าดังกล่าวจะบอกถึงจ านวนชนิดของสิ่งมีชีวิตที่พบได้ในชุมชน

                  สิ่งที่มีชีวิตพื้นท้องทะเล ตามปกติค่าดัชนีความแตกต่างนี้จะต ่าในบริเวณที่มีคุณภาพของน ้าเสื่อมลงหรือน ้าเน่า

                  เสีย ทั้งนี้เป็นเพราะมีสัตว์จ านวนน้อยชนิดเท่านั้นที่จะทนอยู่ได้และมีการปรับตัวเพื่ออาศัยอยู่ต่อไปในบริเวณ
                  ดังกล่าวได้ แต่ถ้านับจ านวนตัวในแต่ละชนิดที่พบอาศัยอยู่ในบริเวณที่ไม่เหมาะสมนี้จะมีค่าสูง เนื่องจากสัตว์

                  กลุ่มนี้ขาดผู้ต่อสู้แก่งแย่งเพื่อครอบครองอาหารและที่อยู่อาศัยจึงสามารถแพร่พันธุ์และเพิ่มจ านวนได้มาก

                  ในทางตรงกันข้ามในแหล่งน ้าที่มีคุณภาพน ้าค่อนข้างสะอาดมักจะมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมีค่าดัชนี
                  ความแตกต่างสูง เนื่องจากมีจ านวนสัตว์หลายชนิดที่อาศัยอยู่ได้ในบริเวณเดียวกัน จ านวนตัวในแต่ละชนิดจึง

                  มักจะต ่า เนื่องจากต้องมีการแบ่งสรรปันส่วนพลังงานและที่อยู่อาศัยซึ่งกันและกัน (ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์,

                  2555) นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเชิงลึกเพื่อใช้ประโยชน์จากสัตว์หน้าดินในการลดผลกระทบจากมลภาวะใน
                  แหล่งน ้า เช่น การเลี้ยงไส้เดือนทะเลบางชนิด หรือการเพาะเลี้ยงเพรียงทรายควบคู่กับการเลี้ยงกุ้งเพื่อใช้บ าบัด

                  น ้าเสียจากการเลี้ยงกุ้ง ซึ่งตัวเพรียงทรายเองก็สามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์น ้าด้วย การศึกษาสัตว์หน้าดินใน

                  เชิงลึกที่พบในปัจจุบันคือการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive compounds) จากสัตว์หน้าดินบาง
                  ชนิด เช่น ฟองน ้า แมงดาทะเล และปลิง เป็นต้น เพื่อใช้เป็นยารักษาโรค
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27