Page 19 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 19

บทที่ 1

                                              ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์หน้าดิน



                  1.1 ความหมายและประวัติการศึกษาสัตว์หน้าดิน



                         1.1.1 ความหมายของสัตว์หน้าดิน
                           “สัตว์หน้าดิน” (benthos, benthic fauna) เป็นค าที่ใช้เรียกกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนพื้นดินและ

                  อยู่ในดินโดยการขุดรูหรือฝังตัว รวมไปถึงกลุ่มสัตว์ที่หากินบนพื้นผิวดินตามพื้นท้องน ้าในแหล่งน ้าทั่วไป เช่น

                  แม่น ้า ล าธาร ทะเลสาบและทะเล ซึ่งรวมไปถึงพวกกุ้ง ปู ปลาหน้าดินที่หากิน และฝังตัวอยู่ในพื้นดินด้วย ค าว่า
                  “เบนโทส” (benthos) มาจากภาษากรีกโบราณหมายถึงความลึก ความลึกของทะเล หรือพื้นทะเล (bottom)

                  ซึ่งให้ไว้โดยนักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน Ernst Haeckel (1834-1919) (Tagliapietra and Sigovini,

                  2010) นอกจากค าว่า “สัตว์หน้าดิน” แล้วนักวิทยาศาสตร์ยังใช้ค าว่า “สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน”
                  (benthic invertebrate) เพื่อเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ ทั้งนี้เป็นเพราะองค์ประกอบของสัตว์หน้าดินส่วนใหญ่เป็น

                  พวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (invertebrates) เช่น พวกตัวอ่อนแมลง (insect larvae)  ไส้เดือนน ้า (aquatic

                  oligochaetes) ปูและหอย เป็นต้น ส่วนสัตว์หน้าดินในบริเวณแหล่งน ้ากร่อยและทะเล เช่น ปากแม่น ้า ชายฝั่ง
                  ทะเล ป่าชายเลน แนวหญ้าทะเลและแนวปะการัง มักเรียกกันว่า “สัตว์ทะเลหน้าดิน” หรือ “สัตว์พื้นทะเล”

                  (marine benthos,  marine benthic fauna) เราจะเห็นได้ว่าสัตว์หน้าดินนั้นมีตัวแทนอยู่ในทุกไฟลัม

                  (Phylum) นับตั้งแต่สัตว์ขนาดเล็กมากในกลุ่มโปรโตซัว (protozoa) จนถึงสัตว์ในกลุ่มที่มีกระดูกสันหลัง เช่น
                  ปลาหน้าดิน เป็นต้น นับว่าสัตว์หน้าดินสามารถกระจายอยู่ทั่วไปตามแหล่งน ้าต่าง ๆ

                           ทั้งนี้ สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแหล่งน ้าโดยทั่วไปสามารถจ าแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ตามลักษณะ

                  การด ารงชีวิต ดังภาพที่ 1.1 คือ (1) แพลงก์ตอน (plankton) (2) เนคตอน (Nekton) และ (3) สัตว์หน้าดิน ที่
                  ซึ่งสัตว์หน้าดินจะถูกแยกออกจากอีกสองกลุ่มด้วยลักษณะที่ว่ามีแหล่งอาศัยอยู่ตามพื้นดินทั้งบนผิวดิน และฝัง

                  ตัวอยู่ในดิน ซึ่งบางชนิดอาจเป็นพวกเกาะติดกับวัตถุใต้น ้า หรือเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ขณะที่แพลงก์ตอนจะ

                  หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในมวลน ้า แต่ไม่สามารถว่ายทวนกระแสน ้าได้ เช่น ฟอแรมมินิเฟอร า
                  (foraminifera) คอคโคลิโทฟอร์ (coccolithophores) เรดิโอลาเรียน (radiolarian) และไดอะตอม

                  (diatoms) อาจแยกย่อยไปอีกเป็นกลุ่มนูสตอน (Neuston) คือ กลุ่มแพลงก์ตอนที่ลอยตัวอยู่เฉพาะบนผิวน ้า

                  ไดโนแฟลกเจลเลต (dinoflagellates) และตัวอ่อนของสัตว์ทะเลหลายชนิด เช่น ปู ปลาและดาวทะเล แพลงก์
                  ตอนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือแมงกะพรุน ส่วนเนคตอนเป็นพวกที่ส่วนใหญ่ด ารงชีวิตอิสระอยู่ในมวลน ้า และ

                  สามารถว่ายทวนกระแสน ้าได้ เช่น พวกปลาและหมึก เป็นต้น
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24