Page 23 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 23

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์หน้าดิน                                                        5



                  1.2 ความส าคัญและบทบาทของสัตว์หน้าดินในระบบนิเวศ

                           สัตว์หน้าดินมีความส าคัญในการเป็นทรัพยากรประมง หรือเป็นอาหารของมนุษย์โดยตรง แล้วยัง
                  เป็นอาหารที่ส าคัญส าหรับสัตว์น ้าและสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น พวกนก สัตว์เลื้อยคลาน และปลาหลายชนิด สัตว์

                  หน้าดินยังมีความส าคัญในการถ่ายทอดพลังงานในสายใยอาหารจากการเป็นผู้บริโภคเบื้องต้น (consumer)

                  โดยการกินอาหารจากผู้ผลิตขั้นต้น (primary producers) ได้แก่ พืชสีเขียว หรือแพลงก์ตอนพืชและสาหร่าย
                  ตัวของสัตว์หน้าดินเองก็ยังเป็นอาหารส าหรับผู้ล่า (predators) กลุ่มสัตว์น ้าและสัตว์อื่นที่อยู่ในระดับที่สูงขึ้นไป

                  ในสายใยอาหาร นอกจากนี้การด ารงชีวิตของสัตว์หน้าดินบนพื้นดินทั้งในการขุดรูที่อยู่อาศัย การเคลื่อนที่ตาม

                  พื้นดิน ตลอดจนการกินอาหารมีบทบาทส าคัญในการหมุนเวียนธาตุอาหารและการกวนตะกอน ตลอดจนการ
                  ตกตะกอนท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบนพื้นดินและมีส่วนเร่งในกระบวนการที่ท าให้เกิดการสะสมอินทรียสาร

                  เพื่อให้พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น นอกจากนี้ความหลากหลายชนิดและสัดส่วนองค์ประกอบของสัตว์

                  หน้าดินกลุ่มเด่นสามารถใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน ้าได้ สัตว์หน้าดินหลายชนิดสามารถใช้
                  เป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน ้า หรือเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงความเสื่อมโทรมของแหล่งน ้าได้



                         1.2.1 ความส าคัญและบทบาทของสัตว์หน้าดินในการเป็นทรัพยากรประมงและในสายใยอาหาร
                               (Food webs) ในแหล่งน ้า

                           สัตว์หน้าดินหลายชนิดจัดว่าเป็นสัตว์น ้าเศรษฐกิจเป็นทรัพยากรประมงที่ส าคัญเป็นอาหารที่มนุษย์

                  น ามาบริโภคโดยตรงดังภาพที่ 1.3 เช่น หอยขม (pond snail) หอยทราย (river snail) หอยกาบ (freshwater
                  mussel) ชนิดต่าง ๆ เช่น หอยกาบสกุล Pilsbryoconcha, Pseudodon หอยกาบลายสกุล Scabies,

                  Uniandra และหอยเล็บม้าสกุล Corbicula ที่พบในแหล่งน ้าจืด (อรภา นาคจินดา, 2552) หอยหวานหรือ

                  หอยตุ๊กแก (spotted babylon) หอยเสียบ (Donax  wedge  shell) หอยกระปุก (semigrooved venus)
                  หอยแครง (blood cockle) หอยพิม (angle wing) หอยแมลงภู่ (green mussel) หอยนางรม (oyster) กุ้ง

                  ก้ามกราม (giant fresh water prawn) กุ้งแชบ๊วย (banana shrimp) กุ้งกุลาด า (black tiger prawn) ปูนา

                  (ricefield crab) ปูแสม (grapsid crab) ปูม้า (blue swimming crab) ปูทะเล (mud crab) ปูใบ้ (xanthid
                  crab) และเม่นทะเล (sea urchin) ที่พบบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นต้น
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28