Page 4 - Ebook_AGRI_ 8-3
P. 4

วารสารเกษตรหันตราปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจ าเดือน กันยายน – ธันวาคม 2565                     Kaset Huntra Gazette  Vol.8 No.3 September - December 2022




            การผลิตถ่านโดยใช้เตาเผาถ่านแบบแอนิลา

                   เตาแอนิลาเป็นเตาเผาถ่านที่มีลักษณะการให้ความร้อนทางอ้อมโดยโครงสร้างเตามีลักษณะ   เป็น 2 ชั้น คือชั้นของการเผาไหม้

            เชื้อเพลิง และชั้นของการเกิดปฏิกิริยาการแยกสลายด้วยความร้อน (Pyrolysis) หรือเรียกว่าห้องเผาถ่านซึ่งเตาเผาถ่านที่น ามาเป็นตัวอย่างจะ

          เป็นเตาที่ผลิตจากถังเหล็ก 200 ลิตร แบบเปิดฝาถังได้ ภาพที่ 2 (1) โดยการเริ่มต้นผลิตถ่านโดยใช้เตาเผาถ่านแบบแอนิลาจะเริ่มจากการ



          จัดเรียงชีวะมวลที่ต้องการผลิตถ่านลงในห้องเผาถ่านโดยปริมาณที่บรรจุได้ขึ้นอยู่กับขนาดและการจัดเรียงชีวมวล ภาพที่ 2 (2) เมื่อจัดเรียงชีว


          มวลเรียบร้อยแล้วให้ท าการปิดฝาถัง และเติมชีวมวลที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงอาจจะใช้ชีวมวลขนาดเล็กที่ไม่เหลือจากการเตรียมชีวมวลเพื่อเผาถ่าน


          ลงในช่องใส่ชีวมวลเชื้อเพลิงเมื่อเสร็จเรียบร้อยก็ท าการจุดไฟ เมื่อไฟเริ่มจุดติดความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้จะเริ่มลอยไปตามปล่องระบาย


          ไอในระหว่  างที่ลอยขึ้นไปความร้อนจะถูกถ่ายเทผ่านผนังปล่องระบายไอเข้าสู่ห้องเผาถ่านเมื่อชีวมวลที่เป็นวัตถุดิบผลิตถ่านได้รับความร้อนก็

          จะเข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการเผาไหม้ชีวมวลโดยเริ่มจากการคายความชื้นเมื่อชีวมวลมีอุณหภูมิสะสมขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงอุณหภูมิ 500 – 600


          องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นกระบวนการท าลายพันธะทางเคมีท าให้เกิดก๊าซซึ่งสามารถติดไฟได้ ภาพที่ 2 (3) ซึ่งเป็นกระบวนการเกิดปฏิกิริยาการ


          แยกสลายด้วยความร้อนเรียกว่ากระบวนการไพโรไลซีส (Pyrolysis) ระหว่างนั้นให้เติมชีวะมวลเชื้อเพลิงในช่องใส่ชีวมวลเชื้อเพลิงเป็นระยะ


          เพื่อรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่ท าให้เกิดกระบวนการไพโรไลซีส (Py  rolysis) เมื่อชีวมวลเริ่มเปลี่ยนสภาวะเป็นถ่าน (Charcoal) และไม่ได้


          รับออกซิเจน  เนื่องจากเตาเป็นระบบปิด ปฏิกิริยาแก๊สซิฟิเคชั่น (Gasification) ก็จะไม่เกิดขึ้นท าให้ก๊าซเชื้อเพลิงลดลงเปลวไฟที่เกิดจากการ


            เผาไหม้ก๊าซเชื้อเพลิงก็จะลดลงและดับไป ให้ท าการหยุดเติมชีวมวลเชื้อเพลิงในช่องใส่ชีวมวลเชื้อเพลิงและรอให้ถ่านในถังเย็นตัวลงหรือทิ้งไว้

          1 คืน (12 ชั่วโมง) จึงจะสามารถน าถ่านออกจากเตาได้ ภาพที่ 2 (4) ในกรณีที่น าถ่านออกจากถังทันทีถ่านที่มีความร้อนสะสมอยู่จะสัมผัสกับ


          อากาศซึ่งมีออกซิเจน  เป็นส่วนประกอบท าให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องคือปฏิกิริยาแก๊สซิฟิเคชั่น (Gasification) และคายก๊าซเชื้อเพลิงออกมาและ
          ติดไฟจนถ่านเปลี่ยนสถานะเป็นเถ้า (Ash)














            ภาพที่ 2 (1) ส่วนประกอบของเตาเผาถ่าน, (2) การเติมชีวมวลในห้องเผาถ่าน, (3) ลักษณะการเกิดปฏิกิริยาการแยกสลายด้วยความร้อน

                                 (Pyrolysis) ที่อุณหภูมิ 500 – 600 องศาเซลเซียส, (4) ถ่านที่ได้เมื่อสิ้นสุดกระบวนการ



                                                                                     ผู้เขียนบทความ: อาจารย์วิเชียร ดวงสีเสน
                                                       สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

                                                                                    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ


          เอกสารอ้างอิง


          [1]   กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน (2554). คู่มือพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานจากชีวมวล.
               กรุงเทพฯ: บริษัท เอเบิล คอนซัลแตนท์ จ ากัด.                                                   - 3 -
   1   2   3   4   5   6   7   8   9