Page 12 - Ebook_AGRI_ 8-3
P. 12

วารสารเกษตรหันตราปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจ าเดือน กันยายน – ธันวาคม 2565                     Kaset Huntra Gazette  Vol.8 No.3 September - December 2022



        คุณค่าทางโภชนศาสตร์ของอาหารไก่ไข่





        ที่มีแหล่งโปรตีนที่แตกต่างกัน






                 ต้นทุนค่าอาหารไก่ไข่เป็นปัจจัยของความส าเร็จ

          ในการท าธุรกิจไก่ไข่ การประกอบสูตรอาหารโดยใช้แหล่งโปรตีนที่

          แตกต่างกันจะท าให้ต้นทุนค่าอาหารไก่ไข่ และการให้ผลผลิตแตกต่าง
           กันด้วย ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ
          คุณค่าทางโภชนศาสตร์ของอาหารไก่ไข่ที่มีแหล่งโปรตีนที่แตกต่างกัน

          และเปรียบเทียบการให้ผลผลิตของไก่ไข่บางประการในไก่ไข่

           เชิงการค้าที่เลี้ยงในโรงเรือนระบบเปิด แผนการทดลองแบบสุ่ม
          สมบูรณ์ถูกใช้ในการศึกษานี้โดยจ าแนกสิ่งทดลองเป็น 4 กลุ่ม

          คืออาหารที่มีแหล่งโปรตีนจากปลาป่นเป็นหลัก (FMC) อาหารที่มี

          แหล่งโปรตีนจากกากถั่วเหลืองเป็นหลัก (SMC) อาหารที่มีหนอน
           แมลงวันลายทดแทนปลาป่นร้อยละ 2 (BSC2) และอาหารที่มี

           หนอนแมลงวันลายทดแทนปลาป่นร้อยละ 5 (BSC5) โดยสูตรอาหาร  ภาพที่ 1 การผสมอาหารไก่ไข่โดยใช้แหล่งโปรตีนจากปลาป่น กากถั่ว
                                                                      เหลือง และหนอนแมลงวันลายอบแห้งป่นละเอียด
          ทั้งหมดถูกค านวณโดยใช้โปรแกรม FeedLive (version 1.52)
          จากนั้นสุ่มแม่ไก่ไข่ที่มีอายุ 35 สัปดาห์ ออกเป็น 4 กลุ่มตามจ านวน

           สิ่งทดลอง โดยก าหนดให้แต่ละสิ่งทดลองมีแม่ไก่ไข่จ านวน 25 ตัว
          ระยะเวลาการศึกษาทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าระดับ

          โปรตีนในอาหารจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะ (proximate

          analysis) มีค่าแตกต่างจากระดับโปรตีนในอาหารที่ค านวณก่อน
           ประกอบสูตรอาหาร เท่ากับ ร้อยละ 1.37, -0.56, -0.91 และ -1.22
           ส าหรับ FMC, SMC, BSC2 และ BSC5 ตามล าดับ แม่ไก่ไข่ที่กิน

          อาหาร FMC มีปริมาณอาหารที่กินสูงกว่าอาหารสูตร SMC, BSC2
          และ BSC5 เท่ากับ 1.61, 1.22 และ 0.91 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามล าดับ

          (P<0.001) ในขณะที่แม่ไก่ไข่ที่กินอาหาร SMC มีน้ าหนักไข่มากกว่า
          แม่ไก่ไข่ที่กินอาหาร FMC, BSC2 และ BSC5 เท่ากับ 1.1, 1.35 และ
          0.84 กรัม ตามล าดับ (P<0.001) อย่างไรก็ตาม คะแนนมูลจากแม่ไก่  ภาพที่ 2 การให้อาหารและน้ าในแม่ไก่ไข่ที่ใช้ในการศึกษา

          ไข่ที่กินอาหารทั้ง 4 สูตร มีคะแนนอยู่ระหว่าง 1.96 ถึง 2.10 คะแนน
          (P=0.419) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาต้นทุนการผลิตอาหารแต่ละสูตร

          มีต้นทุนต่อกิโลกรัมอาหาร เท่ากับ 15.16, 15.76, 14.79 และ
          13.70 บาท ส าหรับ FMC, SMC, BSC2 และ BSC5 ตามล าดับ              ผู้เขียนปัญหาพิเศษ: นายธีระภัฒน์ ชูทอง และ นายวรากร กลิ่นบ ารุง

          ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการใช้หนอนแมลงวันลายเป็นแหล่งโปรตีนใน  นักศึกษาสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
          อาหารสามารถลดต้นทุนค่าอาหารได้ แต่จะท าให้การให้ผลผลิตของ                        มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
          แม่ไก่ไข่ลดลงเล็กน้อย

                                                                                                             - 11 -
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17