Page 43 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 43

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสัตว์หน้าดิน                                                      25



                  selective deposit feeders สามารถคัดแยกสารอินทรีย์ออกจากดินตะกอนก่อนที่จะกินเข้าไปเช่นไส้เดือน

                  ทะเลในวงศ์ Terebellidae และ Spionidae (ภาพที่ 1.21) จะมีหนวดแผ่ขยายออกมาภายนอกรูหรือท่อแล้ว
                  ท าการกวาดสารอินทรีย์ รวมทั้งตะกอนจากนั้น ciliated grooves ในหนวดคอยล าเลียงอาหารเข้าสู่ปาก



























                  ภาพที่ 1.21  ไส้เดือนทะเล Pygospio elegans กินอาหารโดยการล าเลียงเม็ดอาหารจ าพวกอินทรียสาร
                             เข้าสู่ปาก

                             ที่มา :  Fauchald and Jumars (1979)


                           ปูก้ามดาบจัดเป็นพวกที่กินสารอินทรีย์จากดินตะกอนเป็นหลักจึงต้องมีการพัฒนารยางค์ส่วนปาก

                  (maxillipeds) และก้ามข้างเล็กให้มีความเหมาะสมกับขนาดของสารอินทรีย์ซึ่งเป็นอาหารที่ติดอยู่กับดิน

                  ตะกอน ปลิงทะเล (sea cucumbers) กินสารอินทรีย์ที่อยู่ตามพื้นดินโดยจะใช้หนวดยื่นออกมาจับอาหาร ส่วน
                  ของปลายหนวดที่แตกแขนงออกเป็นซี่ ๆ จะแผ่ขยายออกเพื่อให้มีพื้นที่รับอาหารมากขึ้นและเป็นการลด

                  ช่องว่างระหว่างซี่ด้วย การหดหนวดจะท าให้อาหารถูกดันเข้าสู่ปาก ซึ่งส่วนของล าไส้ปลิงทะเลสารอินทรีย์จะ

                  ถูกแยกออกจากดินตะกอนในบริเวณล าไส้ของปลิงทะเลซึ่งมีความยาวมากลักษณะขดไปมา ส่วนตะกอนทรายที่
                  เหลือจะถูกขับออกมาในรูปมูลดิน (Lawrence, 1987)

                           (5.2) พวก detritus feeders ที่กินสารอินทรีย์เป็นอาหารโดยไม่กินกรวดทรายเข้าไปด้วย เช่น

                  ไส้เดือนทะเลในวงศ์ Pectinariidae, Maldanidae และ Arenicolidae เม่นหัวใจ (heart urchins) หนอนถั่ว
                  (peanut worms) หอยสองฝาในวงศ์ Telinidae สกุล Macoma, Tellina และหอยจุ๊บแจงในวงศ์

                  Potamididae สกุล Cerithidea เป็นต้น สัตว์หน้าดินขนาดเล็กที่เป็นกลุ่มเด่นพบได้ในแหล่งน ้าโดยเฉพาะใน

                  ทะเลที่ด ารงชีพเป็นพวกที่กินอินทรีย์สาร ได้แก่ ฟอแรมมินิเฟอรา ไส้เดือนตัวกลมทะเลและฮาร์แพคติคอยด์โค
                  พีพอด ดังภาพที่ 1.22
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48