Page 132 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 132

การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างสัตว์หน้าดิน                                                114



                  4.5 การคัดแยกตัวอย่างและรักษาสภาพสัตว์หน้าดิน


                        4.5.1 การแยกและวิเคราะห์ตัวอย่างสัตว์หน้าดิน

                           (1) การแยกตัวอย่างสัตว์หน้าดิน

                           การแยกตัวอย่างสัตว์หน้าดินพวกสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่ (Macrofauna) สามารถแยกโดยการน าดิน
                  ตัวอย่างมาร่อนในตะแกรงขนาดตาต่าง ๆ กัน หรือร่อนด้วยตะแกรงขนาด 0.5 มิลลิเมตร เพียงเบอร์เดียว โดย

                  ใช้น ้าฉีดเบา ๆ แล้วเขย่าตะแกรงเพื่อช่วยให้ร่อนได้เร็วขึ้น แต่ทั้งนี้การฉีดน ้าโดยตรงจากด้านบนลงสู่ตะแกรงก็

                  อาจท าให้ตัวอย่างสัตว์หน้าดินเสียหายหรือบอบช ้า ซึ่งอาจหลีกเลี่ยงได้โดยใช้น ้าฉีดเบา ๆ จากด้านล่างของ
                  ตะแกรงขึ้นไปแล้วแยกตัวอย่างออกมา จากนั้นใช้ปากคีบค่อย ๆ คีบตัวอย่างที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าออกใส่

                  ขวดตัวอย่าง ส่วนของตะกอนที่ค้างบนตาตะแกรงน ามาเทใส่ในถาดสีขาวแล้วเขี่ยค้นหาสัตว์ที่ปะปนอยู่กับ

                  ตะกอนออกมาแล้วน าไปใส่ขวดตัวอย่าง ส าหรับสัตว์หน้าดินที่มีขนาดค่อนข้างเล็กหรือมีสีกลมกลืนกับดิน
                  ตะกอนจนมองได้ไม่ชัด ควรส่องค้นหาสัตว์ใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอไมโครสโคป (Stereo Microscope)

                  ตัวอย่างสัตว์หน้าดินที่ได้ทั้งหมดน ามาดองด้วยน ้ายาฟอร์มาลินหรือแอลกอฮอล์

                           ส่วนการแยกตัวอย่างสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก (Meiofauna) ท าโดยการน าดินตะกอนที่เก็บตัวอย่างมา
                  ใส่ลงในถุงกรองขนาดตา 63 ไมครอน ฉีดน ้าล้างเบาจนน ้าที่ผ่านถุงกรองใส แล้วน าดินตะกอนที่ค้างในถุงกรอง

                  มาส่องค้นหาสัตว์หน้าดินด้วยกล้องจุลทรรศน์ก าลังขยายสูง

                           (2) การวิเคราะห์ตัวอย่างสัตว์หน้าดิน การศึกษาสัตว์หน้าดินในแง่องค์ประกอบชนิด (Species
                  composition) ต้องท าการแยกชนิดลงไปให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะท าได้ การหาความหนาแน่น (density) ของ

                  สัตว์หน้าดินท าได้โดยการนับจ านวนตัวทั้งหมดของสัตว์หน้าดินที่พบในแต่ละสถานีหรือจุดเก็บตัวอย่าง แล้ว

                  รายงานผลเป็นหน่วยตัวต่อตารางเมตร การชั่งน ้าหนักสัตว์หน้าดินเป็นการหามวลชีวภาพ (biomass) ซึ่งการ
                  หามวลชีวภาพอาจท าได้โดยการหาน ้าหนักเปียก (wet weight) หรืออาจเป็นน ้าหนักแห้ง (dry weight)



                        4.5.2 สารเคมีที่ใช้ในการดองและเก็บรักษาตัวอย่างสัตว์หน้าดิน
                           การเก็บรักษาตัวอย่างสัตว์หน้าดินหรือการดองนิยมใช้น ้ายาดอง 2 ชนิด คือ แอลกอฮอล์ (70-95%

                  ethyl or isopropyl  alcohol) และน ้ายาฟอร์มาลิน (Formalin 5-10%) ปกตินิยมน ้ายาฟอร์มาลินมากกว่า

                  โดยใช้ปริมาณ 1 ส่วนต่อน ้า 10 ส่วน (หรือ 1 ส่วนต่อน ้าทะเล 10 ส่วนส าหรับตัวอย่างสัตว์ทะเล) แต่มีข้อเสีย
                  คือท าให้ตัวอย่างแข็งจนเปราะง่ายและอาจกัดกร่อนบางส่วน การป้องกันการกัดกร่อนของน ้ายาฟอร์มาลินท า

                  ได้โดยท าให้สภาพความเป็นกรดลดลงโดยเติมสาร Calcium carbonate เพื่อให้เป็นกลาง การป้องกันการแข็ง

                  จนมีสภาพเปราะบางท าได้โดยการเติมกลีเซอรีน (Glycerine 5 %) โดยเฉพาะการดองสัตว์ใน Phylum
                  Arthropoda ต้องใช้ Glycerine 20 % การดองสัตว์ที่มีล าตัวอ่อนนิ่มควรเติมน ้ายาช้า ๆ เพื่อให้คงสภาพเดิม

                  มากที่สุด น ้ายาแอลกอฮอล์มีส่วนดีที่ไม่ท าให้ส่วนที่อ่อนนุ่มแข็งตัว
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137