Page 127 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 127

การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างสัตว์หน้าดิน                                                109



                        4.3.3 เครื่องมือเก็บดินประเภทท่อเจาะ (Cores)

                           เครื่องมือชนิดนี้ออกแบบเพื่อให้ศึกษาในชั้นดินที่ลึกลงไป และนิยมใช้ในการศึกษาแง่ปริมาณ
                  (Quantitative) ข้อเสียคือสามารถเจาะลงไปในพื้นดินเหลวแต่ถ้าพื้นทรายอาจเสียตัวอย่าง เพราะดินทรายมี

                  ลักษณะร่วนซุยไม่เกาะกันแน่นเหมือนดินโคลนหรือดินเหนียว ดังนั้นเวลาใช้กับสภาพพื้นดินที่เป็นดินทราย

                  มักจะไม่มีตัวอย่างดินติดมา เนื่องจากร่วงออกจากท่อในขณะที่ดึงท่อเจาะขึ้นมาที่ผิวน ้า ยกเว้นมีการ
                  ออกแบบเพื่อรักษาตัวอย่างไว้ในท่อ เช่นเครื่องมือเก็บดินที่เป็น Box corer ซึ่งนิยมใช้กันมากในทะเล ดัง

                  ภาพที่ 4.10

























                  ภาพที่ 4.10  เครื่องมือเก็บดินประเภทท่อเจาะแบบ box corer ที่นิยมใช้มากทะเล

                             ที่มา : (ก) https://en.wikipedia.org/wiki/Box_corer#/media/File:Giant-box-corer_hg.jpg
                                   (ข) http://www.jochemnet.de/fiu/OCB3043_35.html


                           ท่อเก็บตัวอย่างดินแบบฟลีคเจอร์ (Phleger corer) ดังภาพที่ 4.11 เป็นอุปกรณ์ที่ถูกใช้อย่าง

                  แพร่หลาย มีหลายขนาดแตกต่างกันตั้งแต่น ้าหนัก 7.7-35 กิโลกรัม ความยาวของท่อจะขึ้นอยู่กับลักษณะของ

                  พื้นท้องน ้าในบริเวณที่ต้องการเก็บตัวอย่าง โดยการท างานจะอาศัยหลักของแรงโน้มถ่วง
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132