Page 130 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 130

การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างสัตว์หน้าดิน                                                112



                  theories) เพื่ออธิบายสิ่งที่ท่านสังเกตได้ในธรรมชาติ ดังนั้นเมื่อเราจะเริ่มเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินในแต่ละจุด

                  เก็บตัวอย่างเราควรสังเกตและบันทึกสภาพแวดล้อมที่เราเห็นไว้ทั้งหมด บันทึกลักษณะที่เราพบสัตว์หน้าดิน
                  เช่นพบสัตว์หน้าดินชนิดไหนบ้างอยู่อย่างไรในธรรมชาติ เช่นอยู่รวมกลุ่มกัน ลักษณะดินตะกอนเป็นดินเลนอ่อน

                  นุ่มมีกลิ่นเหม็นของซัลไฟด์หรือไม่ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่จดบันทึกไว้ในภาคสนามทุกส่วนจะมีประโยชน์และใช้

                  ประกอบในการวิเคราะห์ข้อมูล ตามปกติต้องมีการตรวจวัดปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ความลึกของ
                  น ้า ความเค็ม ความขุ่นของน ้า ปริมาณออกซิเจนและวันเวลาที่มีการบันทึกข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมตามสถานี

                  อาจมีการเตรียมการโดยท าเป็นตารางส ารวจการบันทึกข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมแล้วก็ตาม ควรมีช่องว่างใหญ่

                  พอสมควรส าหรับบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น เช่น บันทึกลักษณะดินตะกอนที่พบหรือบันทึกการที่มีฝน
                  ตกหนักในช่วงการเก็บตัวอย่างเป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะส่งผลถึงข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เราบันทึกได้ เช่น

                  ในช่วงฝนตกหนักท าให้ค่าความเค็มต ่ากว่าที่ควรเป็นเมื่อเทียบกับข้อมูลเก่าในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นต้น

                           การเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินในบริเวณปากแม่น ้า ป่าชายเลน และเขตน ้าขึ้นน ้าลงสามารถท าได้โดย
                  การเดินลุยเข้าไปในพื้นที่ศึกษาในช่วงที่น ้าลงต ่าสุด และเราจะมองเห็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนผิวดินได้ชัดเจน

                  เครื่องมือเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินมีเพียงตารางสี่เหลี่ยมนับสัตว์ (quadrat) และพลั่วมือเท่านั้น พร้อม

                  ถุงพลาสติกที่มีการเขียนชื่อสถานีและวันที่ท าการเก็บตัวอย่างชัดเจน การก าหนดพื้นที่ที่จะศึกษาบริเวณป่าชาย
                  เลน โดยทั่วไปจะก าหนดตามการแบ่งเขตของป่าในแนวที่ตั้งฉากกับชายฝั่งตั้งแต่ชายน ้าไปจนถึงด้านบน ใน

                  กรณีหาดทรายและหาดเลนก็เช่นกัน มักศึกษาตัวแทนในเขตแต่ละเขตเช่นเขตตอนบนของหาด เขตตอนกลาง

                  ของหาดเลน และเขตตอนล่างสุดของหาด หรืออาจเก็บตัวอย่างตั้งแต่ชายน ้าไปจนถึงตอนบนสุดของหาดเป็น
                  ระยะห่างที่ก าหนดเช่นทุก 10 เมตร หรือ 30 เมตร ตามความเหมาะสมของความกว้างของหาด ในกรณีหาดหิน

                  ก็ท าการเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินในลักษณะเดียวกัน แต่เป็นการเก็บในแนวดิ่งเป็นระยะห่างเท่า ๆ กัน หรือ

                  เลือกเก็บตัวอย่างตามเขตของหาดหินเช่นเดียวกับหาดทรายและหาดเลน หรืออาจศึกษาโดยเก็บตัวอย่างสัตว์
                  หน้าดินในเขตที่มีหาดทรายและหาดเลน หรืออาจศึกษาโดยเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินในเขตที่มีพันธุ์ไม้หรือสัตว์

                  หน้าดินกลุ่มเด่นเป็นต้น ส าหรับสัตว์หน้าดินกลุ่มที่อาศัยบริเวณพื้นผิวนั้นอาจใช้ตารางสี่เหลี่ยมนับสัตว์ขนาด

                  0.50x0.50 เมตร โยนสุ่มลงไปในพื้นที่ที่ก าหนด กดลงบนพื้นดินแล้วขุดเก็บตัวอย่างที่อยู่ภายในออกมาร่อนผ่าน
                  ตะแกรง ขนาดของตารางสี่เหลี่ยมนับสัตว์อาจใช้ใหญ่ขึ้นเป็นขนาด 1.0x1.0 เมตร ส าหรับบริเวณหาดทรายที่

                  เราจะพบสัตว์หน้าดินกระจายอยู่ไม่หนาแน่น เป็นต้น ส่วนสัตว์หน้าดินที่ฝังตัวอยู่ภายในรูใต้ดินนิยมใช้ท่อเก็บ

                  ตัวอย่างเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร กดลงดินแล้วเก็บดินที่ติดอยู่ในท่อเมื่อดึงขึ้นมาน ามาร่อนผ่าน
                  ตะแกรงหาสัตว์หน้าดินที่ติดอยู่บนตะแกรงร่อน ดังภาพที่ 4.14 เป็นขั้นตอนการเก็บตัวอย่างสัตว์หน้าดินใน

                  บริเวณหาดเลน
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135