Page 133 - หนังสือ สัตว์หน้าดิน นิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์
P. 133

การเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างสัตว์หน้าดิน                                                115



                  4.6 การวิเคราะห์ข้อมูลสัตว์หน้าดิน

                         หลังจากที่มีการวิเคราะห์ตัวอย่างสัตว์หน้าดินในห้องปฏิบัติการเพื่อคัดแยกองค์ประกอบชนิด
                  ตลอดจนนับจ านวนตัวเพื่อหาความหนาแน่นหรือความชุกชุมแล้ว นอกจากนี้มีการชั่งน ้าหนักตัวสัตว์หน้าดิน

                  เพื่อหามวลชีวภาพ (biomass) ซึ่งอาจเป็นน ้าหนักเปียก (wet weight) หรือเป็นน ้าหนักแห้ง (dry weight)

                  ข้อมูลเหล่านี้ต้องมีการรวบรวมและน าเสนอในรูปของตารางเพื่อให้สามารถน าไปใช้ในการวิเคราะห์ต่อไป
                  ส าหรับข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่บันทึกขณะออกท างานในภาคสนาม จ าเป็นต้องมีการรวบรวมและน าเสนอใน

                  รูปของตารางเพื่อน ามาใช้ในการวิเคราะห์ผลต่อไป โดยเฉพาะความสัมพันธ์ขององค์ประกอบชนิดและความชุก

                  ชุมของสัตว์หน้าดินกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ส าคัญ ตารางที่ 4.1 เป็นตัวอย่างตารางบันทึกข้อมูลสัตว์ทะเลหน้าดิน
                  ในระบบนิเวศป่าชายเลน



                        4.6.1 การวิเคราะห์ข้อมูลสัตว์หน้าดินแบบตัวแปรเดียว
                           (1) การวิเคราะห์ดัชนีความชุกชุม (Richness Indices)

                           เป็นค่าที่บอกถึงโครงสร้างความหลากหลายและความชุกชุมของสิ่งมีชีวิตที่พบในแต่ละจุดสุ่มตัวอย่าง

                  และช่วงเวลาที่สุ่มตัวอย่าง โดยมีพื้นฐานการค านวณจากจ านวนชนิดที่พบทั้งหมดและจ านวนตัวที่พบทั้งหมด
                  โดยมีสูตร ดังนี้


                                                 R = (S-1) / ln (n)


                                     เมื่อ       R เป็นดัชนีความชุกชุม

                                                 S เป็นจ านวนชนิดของสิ่งมีชีวิต

                                                 n เป็นจ านวนตัวทั้งหมดที่พบ


                           (2) การวิเคราะห์ดัชนีความหลากหลาย (Diversity Indices)

                           ค่าดัชนีความหลากหลายหรือค่าความแตกต่างของชนิดพันธุ์ใช้การค านวณตามวิธี Shannon-
                  Weiner Diversity Index ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมอย่างแพร่หลายทางนิเวศวิทยาและชีววิทยา ค่าดัชนีที่ได้ใช้

                  ประกอบการพิจารณา โครงสร้างความหลากหลายของประชาคมสิ่งมีชีวิต และคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่ง

                  น ้าทั้งภายในแต่ละจุดสุ่มตัวอย่างและโดยภาพรวมของแหล่งน ้า โดยมีสูตรโครงสร้างดังนี้

                                                 H = - (pi Ln pi)

                                     เมื่อ       H เป็นดัชนีความหลากหลาย
                                                 pi เป็นสัดส่วนของจ านวนสิ่งมีชีวิตชนิดที่ I ต่อจ านวนทั้งหมดในตัวอย่าง
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138